กำเนิดเครื่องสำอาง

 

มนุษย์ชาติมีประวิติการพัฒนาเครื่องสำอาง และน้ำหอมมาจากการต่อสู้ การล่าสัตว์พิธีกรรมต่างๆ และยารักษาโรคประมาณศตวรรษที่ 16 และ 17 ใช้คำว่าเครื่องหอม ในความหมายถึง เครื่องสำอาง (Perfume) และการพัฒนาน้ำหอมจากอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหยอุตสาหกรรมไวน์และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยเริ่มจากกระบวนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยในศตวรรษที่ 17 แต่ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมทั้ง 3 ชนิดมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

คำว่า เครื่องสำอาง (cosmetics) มาจากภาษากรีก “Kosmtikos” มีความหมายว่า พลังในการจัดการ ทักษะในการตบแต่ง

ชาวอะบอริจินในทวีปออสเตรเลีย ตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และขนนก ตามลำตัวทาด้วยไขมัน พอกหน้าด้วยดินขาว ชาวอียิบต์ยุคก่อนคริสตกาล 3000 ปี มักใช้ผงกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกฮิปโปโปเตมัส กระดองเต่า กระดูกค้างคาว ฯลฯ ตบแต่งซากศพในหลุมศพ ในการขุดหลุมศพบางหลุมจะพบถุงในผงแร่เบสิกทองแดงคาร์บอเนต และแร่ตะกั่วซัลไฟด์ สำหรับทาตา และผงเฟอริกออกไซด์ สำหรับทาหน้า และยังพบเหยือกสำหรับใส่น้ำมันอีกด้วย ในหลุมฝังพระศพพระมารดาของกษัตริย์คือ อป (Cheops) จะพบเหยือก ไห อ่าง ทำด้วยทองคำ ทองแดง และกล่องบรรจุเครื่องอาบน้ำบรรจุผึ้งหอม มีมีดโกน และมีดสำหรับตัดเล็บ ส่วนผู้หญิงจะนิยมทาเปลือกตาด้วยมาลาไคท์ และทาขนตา ขนคิ้ว ให้เป็นสีดำด้วย kohl1 วิธีทาใช้นิ้วมือจุ่มในน้ำหรืองาช้าง หรือแทเงไม้ จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง kohl 61 ตัวอย่าง พบว่า 40 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 65% galena (lead ore) 2 ตัวอย่างพบแอนติโมนิซัลไฟด์ (antimony sulfide) เล็กน้อย อีก 4 ตัวอย่างพบ คาร์บอน อีก 21 ตัวอย่างพบ lead carbonate พบหลักฐานว่าผู้หญิงทาปาก และแก้มด้วยแร่เฟอริกออกไซด์ (red iron oxide) และจากพืชโดยพบหลักฐานว่าใช้เทียนกิ่ง (henna) ซึ่งใช้ดอกแช่ในน้ำมันและขี้ผึ้งหอม ปัจจุบันประเทศทางตะวันออกใช้ย้อมเล็บ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าให้เป็นสีแดง ชาวโรมันก็ใช้เช่นกัน โดยเรียนรู้จากชาวอียิปต์ โดยเฉพาะผมของมัมมี่เป็นประกายแดงน่าจะย้อมด้วยเทียนกิ่ง

จากยุค 3000 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริสตศักราช 200 ในแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง พบหลักฐานว่ามีการใช่ยาง (gum resin) ชัน (oleoresin) และไม้หอม เผาบูชา พระอาทิตย์ เวลาเช้า บ่ายและตอนพระอาทิตย์ตก ในสมัยนั้นยังไม่มีสบู่ จึงใช้น้ำมันและขี้ผึ้งหอมเป็นสารทำความสะอาด เนื่องจากยังไม่รู้จักการใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย จึงใช้แต่น้ำมันแบะไขมันสำหรับละลายน้ำมันหอม เช่นน้ำมันงา น้ำมันละหุ่ง หญ้าฝรั่น เมล็ดฟักทอง น้ำมันมะกอก และเมล็ดลินสีด บางครั้ง ใช้ไขสัตว์ เช่น วัว แกะ แพะ และจากแมว มีผิวที่นิยมคือ สีเหลิอง ใช้ฝ้ายชุบแร่เฟอริกออกไซด์ (yellow ochre) ในน้ำทาหน้า คอ แขน นอกจากนี้ใช้เหล็กออกไซด์ (iron oxide) เทียนกิ่งและผงสีน้ำเงินจากไลเคนส์หลายชนิด (litmus) เพื่อทาผิวให้มีสี ส่วนสีดำใช้เบญกานี (nut galls) ทองแดงและเหล็กคั่วในน้ำ มันมันเหล็กคั่วในน้ำมันเล็กน้อยเพื่อ ย้อมผม

พระนางชีบา มหเสีของกษัตริย์โชโลมอนมักให้เครื่องเทศเป็นของพระราชทาน เพราะอาณาจักรยุคสมัยชีบาเป็นศูนย์กลางเครื่องเทศของอาระเบียและยังเป็นเส้นทางการค้า ของเครื่องเทศ และยางหอม (aromatic gum) จากอินเดียไปตะวันออกไกล เช่น ไม่จันทน์ รากแฝกหอมชะมดเช็ด ดอกเทียนกิ่ง เรซิน มะลิ บัว และกุหลาบ

ทีโอฟราสตุส (Theophrastus) ชาวกรีกสมัย 2000 ปีก่อนคริสตศักราช ได้กล่าวถึงวัตถุดิบในการทำเครื่องหอมว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ยอดอ่อน รากไม้ ผลไม้ และกัม ดอกลิลลี่ กุหลาบ มินต์ เบอกามอท ไทม์ (thyme) ไอริส (iris) อบเชย และมดยอบ (myrrh) ผู้หญิงทาแก้มด้วยเมอร์คิวริกซัลไฟล์ (vermilon) หรือ ใช้สาหร่ายทะเล มัลเบอรี่ ส่วนสีขาวใช้ตะกั่วคาร์บอเนต (white lead) ใช้สารประกอบของสารหนูทาให้ขนร่วง ใช้น้ำมันหอมใส่ผม ทั้งผู้ชายและผู้หญิงนิยมย้อมผมให้เป็นสีเทา ทาขนคิ้วสีดำ ส่วนรอบตาทาสีเขียวหรือสีดำ ส่วนพิธีกรรมทางศาสนานั้น ศพที่ได้รับการเผาแล้ว กระดูกและเถ้าจะได้รับการล้างด้วยไวน์ผสมกับขี้ผึ้งหอม เมื่อบรรจุอัฐิและจะแสดงความเคารพด้วยการวางดอกไม้หอมและผสมเครื่องหอม

ในสมัยโรมัน การอาบน้ำเริ่มโดยการถอดเสื้อผ้าออก ทาตัวด้วยขี้ผึ้งหอม ออกกำลังกายก่อนแล้วจึงมาเข้าห้องอบไอน้ำ ถูตัวด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะโค้ง เพื่อถูน้ำมัน เหงื่อ สิ่งสกปรกออกเครื่องมือนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นจึงออกมาเข้าห้องอุ่นแล้วไปห้องเย็นซึ่งมักเป็นห้องที่ว่ายน้ำได้ สถานที่เหล่านี้มักเป็นสถานที่สาธารณะ เช่น สโมสร

ในสมัยโรมัน สบู่ ทำจากดินขาวชนิดหนึ่งเรียกว่า sapo ต่อมาในปัจจุบัน คือ soap ใช้ทำความสะอาด สบู่ทำจากไขแกะผสมกับเถ้าที่ทำให้ไขเป็นด่าง เริ่มทำมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล เติมเกลือเพื่อให้แข็ง ต่อมาใช่ขี้เถ้าจากไม้แทนสาหร่ายทะเล กษัตริย์ดนโรใช้เครื่องสำอางโดยใช้ white lead และชอล์กทาผิวให้ขาว ใช้สีแดงทาแก้มและทาปาก ผงข้าวบาร์เลย์และเนยรักษาสิว ใช้หินพัมมิส (Pumice) ขัดฟันให้ขาว ใช้แอนติโมนิซัลไฟด์ (antimony sulfide) ทาขอบตาเพื่อให้เป็นประกาย ชาวโรมันจะย้อมผมสีดำหรือสีบลอนด์ โดยใช้สารฝาดสมานใช้ถั่วชนิดหนึ่งต้มกับเนย ทาลบรอยเหี่ยวย่น ใส่ฟันปลอม คิ้ว และขนตาปลอม สวมวิก พอกโคลน แบะอาบน้ำด้วยสมุนไพร มีการพัฒนาขี้ผึ้งหอมขึ้นโดยใช้ส่วนผสมของขี้ผึ้งและน้ำมันมะกอกในอัตราส่วน 1:4 แล้วแช่กลีบกุหลาบเพื่อให้มีกลิ่นหอม เติมน้ำในส่วนผสม เมื่อเวลาทาผิวน้ำระเหยออกไปจะเกิดความรู้สึกเย็น สูตรนี้คือต้นกำเนิดของครีมล้างหน้า (cold cream) ในปัจจุบัน

เมื่อสมัยศตวรรษที่ 16 ผุ้หญิงชาวเมืองเวนิส นิยมย้อมสีผมให้มีสีเหลืองทอง สูตรในการย้อมผมประกอบด้วยสารส้ม (alum) 2 ปอนด์, black sulfer 6 ออนซ์ และน้ำผึ้งกลั่นกับน้ำ 4 ออนซ์ ชุบผมให้เปียกชุ่ม แล้วขึ้นไปนั่งบนหลังคาบ้านเพื่อให้แดดส่อง ส่วนในราชสำนักของยุโรปใช้ iron oxide และ cinnabar (mercury sulfide) ทาแก้ม และ ใช้ lead carbonate เป็นแป้งปัดหน้า

สมัยพระนางเอลิซาเบธ ในศตวรรษที่ 16 มักนิยมทาหน้าให้ขาวและทาสีแดงที่แก้ม สีขาวใช้ white lead โดยใช้ผง orris ผสมกับปรอทที่ระเหิดออกมา ส่วนรูจใช้ red lead ผสมเมอร์คิวริกซัลไฟล์ (vermilion, HgS) หรือครั่ง (cochineal) ใช้ไข้ขาวเพื่อทำให้หน้าเป็นประกาย ส่วนตำรับที่ทำให้ฟันขาวใช้ ground brick, outtle bone ปะการังขาวและแดง (red and white coral) เปลือกไข่ alum mastic sandarac pumice และมดยอบ (myrrh) ส่วนในช่วงปลายพระชนชีพพระนางต้องใช้ก้อนสำลีใส่ระหว่างแก้ม เพื่อปิดบังว่าพระทนต์หลุดไปหลายซี่

สมัยศตวรราที่ 19 เริ่มมีการสังเคราะห์ยูเรียในห้องปฏิบัติการในอังกฤษมีโรงงานเล็กๆ ผลิตสบู่ ต่อมามีการผลิตสบู่และเทียนไขโดยใข้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มแทนไขวัว (tallow) มีการค้นพบ hydrogen peroxide ที่ใช้ฟอกสีผสมและสีย้อมต่างๆ เช่น Alizarin (จากพืช Madder) ในปี ค.ศ. 1871 มีอุตสหกรรมผลิตครีมล้างหน้าตำรับการเลน (cold cream galen) โดยเติมน้ำลงในขี้ผึ้ง (wax) และน้ำมันมะกอกที่มีกลิ่นดอกกุหลาบ ซึ่งทำให้เย็นเวลาทาผิว แต่ครีมไม่คงตัวจึงมีการเติมผงกรอบ (borax) เข้าไปในเนื้อครีมรวมทั้งขี้ผึ้งด้วย เพื่อให้เนื้อครีมคงตัว ต่อมาได้มีการใช้น้ำมันแร่ (mineral oil) แทนน้ำมันพืชทำให้เนื้อครีมขาวไม่หืน

ส่วนวงการเภสัชกรรมเริ่มในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในร้านขายยานอกจากจะขายยาแล้วยังจำหน่ายเครื่องหอม วัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน เครื่องสำอางชนิดผง รูจ สบู่ โลชั่น ฯลฯ

ในศตวรรษที่ 20 ปารีสเป็นศูนย์กลางแฟชั่น และได้จัดให้มีนิทรรศการแห่งปีขึ้น โดยเป็นแฟชั่นของทั้งผู้ชายผู้หญิง ในสมัยนี้พระราชินีอเล็กซานดรา ทรงใช้รูจ ครีม และโลชั่น เสริมการแต่งพระวรกาย ปี ค.ศ. 1907 มาตามเฮเลนา รูบินสไตน์ ได้เปิดสถานเสริมความงามขึ้นที่ลอนดอน และเน้นเครื่องสำอางด้านการรักษา จากนั้นได้ย้ายไปสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มนำเสนอแป้งผัดหน้า และรูจครีมที่มีสีสันขึ้น โดยเน้นสภาพดินฟ้าอากาศ มีความจำเป็นมากที่จะทำให้เครื่องสำอางมีความสำคัญแม้แต่เด็กสาวๆ ปี ค.ศ. 1912 โวค (voque) เสนอผลิตภัณฑ์ผัดหน้า ชนิดน้ำที่ไม่เหนอะหนะ และแป้งเค้กผัดหน้าที่ใช้ฟองน้ำ ชุปให้เปียก ทาหน้าเพื่อไม่ให้ผิวหน้าแห้งมาก

คนไทยสมัยโบราณรู้ราณจักใช้สารธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อตบแต่งร่างกายให้มีความสวยงาม ดูเจริญตา หรือใช้ทาเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมหรือกลบกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์มานานแล้ว เช่น  ใช้ขมิ้น มะขามเปียก ดินสอพองขัดตัว ขัดตัว ใช้น้ำปรุงและแป้งร่ำอบกลิ่นดอกไม้ ได้แก่ มะลิ กุหลาบ กระดังงา สายหยุด และ กำยาน ทาหน้า ทาตัว ที่ขึ้น ชื่อคือ น้ำอบไทย นิยมใช้รดน้ำผู้สูงอายุ เวลามีเทศกาลสงกรานต์ สีผึ้งทาปาก ทำจากการเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว หรือ ไขผึ้ง อบเทียนอบ แล้วนำมาทาปากไม่ให้ปากแห้งหรือทาปาก เมื่อเคี้ยวหมากพลู ส่วนการทำความสะอาดผมมักสระผมด้วยประคำดีควาย ใบส้มป่อย เปลือกขี้หนอน ดอกอัญชันและมะกรูด ใช้ผงถ่านกะลามะพร้าว เขียนคิ้ว ผงชาดทาแก้ม เป็นต้น

งานวิจัยและพัฒนามีในระดับ มหาวิทยาลัยและบริษัท เช่น  Beecham , L’Oreal, Gillete และ Unilever  ได้ก่อตั้งสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางขึ้นในอเมริกาจมีสมาชิก 300 ประเทศใน ปี ค.ศ. 1980 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มีงานวิจัยสารเคมี ใหม่ๆ จากพืชซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ เช่น น้ำมันจากพืชสาร assuasive จากดอกคาโมมาย และ gamma linolenic acid ใน evening primrose และได้มีการสังเคราะห์สารเลียนแบบสารในธรรมชาติ การวิจัยในจัยอุตสาหกรรม เพื่อทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์ได้พยายามหลีกเลี่ยงวิธีทดสอบโดยไม่ใช้สัตว์ทดลอง เช่น การทดสอบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้ทดสอบในหลอดทดลองแทนปัจุบันไม่ว่าหญิงหรือชายใช้เครื่องสำอางเสริมความงามชะลอความแก่ ทำความสะอาด บำรุงและปกป้องร่างกายนอกจากการคิดถึงอาหารเพื่อให้ทีชีวิตอยู่ และคิดถึงยาเมื่อยามเจ็บป่วยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เครื่องสำอางก็เป็นเพียงเครื่องประทินโฉม เพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยช้อบกพร่องภายนอก เพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่มีหน้าตาและผิวพรรณสดใส แช่มชื่น จะต้องประกอบด้วยการรบประทานอาหารครบทุกหมวดหมู่ การพักผ่อนพอเพียง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ระบบขับถ่ายปกติ จิตใจไม่เครียด เนื่องจากการมีสุขภาพจิตที่ดีแบะมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จึงจะทำให้มีความงามทั้งร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *