วิธีรักษาระดับโคเลสเตอรอลและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษาระดับโคเรสเตอรอลและระดับความดันโลหิตห้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรดูแลตัวเองดังนี้

  • รักษาน้ำหนักตัว อย่าหล่อยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ควรหมั่นชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละครั้ง สองครั้ง ถ้ารู้สึกว่าน้ำหนักตัวเริ่มขึ้น ควรใส่ใจเรื่องปริมาณอาหารที่กินและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ในช่วงวัยกลางคนนั้นระบบเผาผลาญในร่างกายจะค่อยๆลดลง ไขมันจะเริ่มสะสมมากขึ้นแต่การออกกำลังกายจะมีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มของไขมันนี้ได้ ไขมันที่มาสะสมบริเวณหน้าท้องที่ทำให้รอบเอวขยายเป็นไขมันที่อันตรายเพราะรอบเอวผู้ชายที่เกิน 90 เซนติเมตร หรือผู้หญิงเกิน 80 เซนติเมตร เป็นสัญญานที่อาจบ่งบอกได้ถึงความเสี่ยงของโรคนานาชนิดรวมทั้งโรคหัวใจด้วย
  • กินผักให้มากขึ้น แนะนำให้กินให้ได้วันละ 4-5 ทัพพี จะเป็นผักสุก หรือผักสดก็ได้ แต่ขอให้ในแต่ละมื้อนั้นมีผักอยู่ด้วย เพราะผักไม่เพียงเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ (กินแล้วไม่อ้วน) แต่ผักยังมีสารอาหารมากมายที่พบว่าช่วยลดความดันโลหิตและลดโคเลสเตอรอล ได้แก่ โพแทสเซียม สารพฤกษเคมี และเส้นใยอาหาร
  • กินผลไม้เล็กๆน้อยๆทุกวัน ผักและผลไม้มีสารอาหารคล้ายๆกัน คือ โพแทสเซียม สารพฤกษเคมี  และเส้นใยอาหาร แต่ผลไม้มีปริมาณน้ำตาลธรรมชาติสูงกว่าผัก และคนส่วนใหญ่มักบริโภคกันเกิน ซึ่งอาจทำให้ได้รับน้ำตาลเข้าไปสูงด้วย แนะนำบริโภคผลไม้สดแทนนำผักผลไม้เพื่อให้ได้กากใย ผลไม้ที่รสหวานมาก ควรบริโภคทีละเล็กน้อย และควรเลี่ยงผลไม้แช่อิ่ม ดองหวาน เชื่อม เนื่องจากมีบริมาณน้ำตาลเติมสูง
  • เลือกกินแป้งไม่ขัดสี วิธีที่ง่ายที่สุดคือ หันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขัดขาว แป้งไม่ขัดสีนั้นให้สารอาหารมากกว่าและมีเส้นใยอาหารวิตามินบีในแป้งไม่ขัดสีส่วนช่วยลดความดันโลหิตและความเครียด ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • กินถั่ว ธัญพืช และเมล็ดพืช อย่างน้อย 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะเป็นอาหารที่ให้สารอาหารมาก รวมทั้งเส้นใยอาหารด้วย ถั่ว ธัญพืช และเมล็ดพืชนี้ มีแร่ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งพบว่าผู้ที่ได้รับแมกนีซียมไม่เพียงพอจะส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น กรดโฟลิกมีมากในถั่วธัญพืช และเมล็ดพืช เช่นกัน กรดโฟลิกเป็นวิตามินบีที่มีส่วนช่วยป้องกันดรคหัวใจ ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์รวมทั้งเมล็ดพืช เป็นอาหารที่มีไขมันสูง (แต่เป็นไขมันชนิดที่ดีต่อสุขภาพ) ฉะนั้นเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว จึงควรควบคุมปริมาณถั่วและเมล็ดธัญพืชที่บริโภคด้วย แนะนำให้ไม่เกินครั้งละ 1 กำมือ
  • กินปลาให้บ่อย กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปลาทะเลช่วยลดการอักเสบภายในเซลล์ และลดการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งช้วยป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดีไม่แนะนำให้ทอดปลา เนื่องจากกรดไขมัโอเมก้า 3 จะละลายไปกับน้ำมันที่ทอด
  • บริโภคเนื้อสัตว์อื่นๆ อย่างพอประมาณ และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นไขมันชนิดไม่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร HealtToday

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *