ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คืออะไร

การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทางวิชาชีพขั้นปานกลาง

การจัดการเรียนการสอนของประเทศไทยของเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ การศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน และการศึกษาในระดับขั้นอุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น จะแบ่งออกเป็น ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น (โดยอาจจะรวมการศึกษาก่อนวัยเรียนช่วงอายุ 0-6 ปีด้วย)

สำหรับการศึกษาในระดับขั้นอุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา จะเริ่มตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ไปจนถึงบัณฑิตศึกษาหรือเทียบเท่า

การอาชีวศึกษา
” การอาชีวศึกษา “

การอาชีวศึกษา

หมายความว่า กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน สายวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว และการบริการ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถออกไปประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรีสายสามัญ เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทางวิชาชีพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ

การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะทางวิชาชีพขั้นปานกลาง รวมทั้งความสามารถในการทำหน้าที่หัวหน้างานผู้ประกอบการและสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยผู้จบการศึกษาระดับ ปวช.หรือสายสามัญชั้น ม.6 สามารถเข้าศึกษาในระดับนี้ ใช้เวลา 2 ปี และเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถออกไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสายสามัญหรือปริญญาตรีสายปฏิบัติการและเทคโนโลยีหรือเทียบเท่า

การศึกษาระดับปริญญาสายปฏิบัติการและเทคโนโลยีหรือเทียบเท่า เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะทางวิชาชีพเฉพาะทาง ทางด้านการวิจัย และความรู้พื้นฐานที่จำเป็นจนสามารถทำให้เกิดนวัตกรรมที่นำมาสู่สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติในสายวิชาชีพ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
” ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสู

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563

หมวดวิชาที่เปิดสอนของหลักสูตร มีดังต่อไปนี้

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

  1. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล แก้ไข16/12/2563
  2. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต แก้ไข14/12/2563
  3. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ แก้ไข16/12/2563
  4. สาขาวิชาไฟฟ้า แก้ไข28/4/2564
  5. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  6. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง แก้ไข27/11/2563
  7. สาขาวิชาเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายใน แก้ไข3/12/2563
  8. สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม แก้ไข4/11/2563
  9. สาขาวิชาสำรวจ แก้ไข4/11/2563
  10. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล แก้ไข1/12/2563
  11. สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม แก้ไข1/12/2563
  12. สาขาวิชาการพิมพ์ แก้ไข6/11/2563
  13. สาขาวิชาเทคนิคพลังงาน แก้ไข10/11/2563
  14. สาขาวิชาเทคโนโลยีขึ้นรูปพลาสติก
  15. สาขาวิชาช่างกายอุปกรณ์
  16. สาขาวิชาเทคโนโลยีการต่อเรือ
  17. สาขาวิชาการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย แก้ไข1/12/2563
  18. สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
  19. สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม
  20. สาขาวิชาโยธา แก้ไข4/11/2563
  21. สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยาง แก้ไข11/11/2563
  22. สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  23. สาขาวิชาปิโตรเคมี แก้ไข6/11/2563
  24. สาขาวิชาช่างอากาศยาน แก้ไข2/11/2563 
    สาขาวิชาช่างอากาศยาน (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) แก้ไข10/6/2564
  25. สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
  26. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  27. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและควบคุมงานปิโตรเลียม
  28. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
  29. สาขาวิชาเทคนิคซ่อมบำรุงเรือ แก้ไข10/11/2563
  30. สาขาวิชาเทคโนโลยีบริการยานยนต์ แก้ไข1/12/2563
  31. สาขาวิชาเครื่องกลเกษตร
  32. สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง  แก้ไข1/12/2563
  33. สาขาวิชาเทคนิควิทยาการนาฬิกา แก้ไข8/07/2564
  34. สาขาวิชาเทคนิคการจัดการอาคาร แก้ไข8/2/2564

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

  1. สาขาวิชาการบัญชี แก้ไข17/2/2564
  2. สาขาวิชาการตลาด แก้ไข17/2/2564
  3. สาขาวิชาการเลขานุการ แก้ไข21/12/2563
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล แก้ไข17/2/2564
  5. สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ แก้ไข17/2/2564
  6. สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล แก้ไข21/4/2564
  7. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก แก้ไข29/03/2564
  8. สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ แก้ไข21/4/2564
  9. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน แก้ไข17/2/2564
  10. สาขาวิชาการจัดการ แก้ไข21/12/2563
  11. สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน แก้ไข21/12/2563
  12. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการกีฬา แก้ไข21/12/2563
  13. สาขาวิชาธุรกิจการบิน แก้ไข21/12/2563

ประเภทวิชาศิลปกรรม

  1. สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ แก้ไข10/02/2563
  2. สาขาวิชาการออกแบบ แก้ไข10/02/2563
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิก แก้ไข10/02/2563
  4. สาขาวิชาศิลปหัตถกรรมรูปพรรณเครื่องถมและเครื่องประดับ แก้ไข10/02/2563
  5. สาขาวิชาถ่ายภาพและมัลติมีเดีย แก้ไข10/02/2563
  6. สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม แก้ไข10/02/2563
  7. สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก แก้ไข10/02/2563
  8. สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องหนัง แก้ไข10/02/2563
  9. สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี แก้ไข10/02/2563
  10. สาขาวิชาช่างทองหลวง แก้ไข10/02/2563
  11. สาขาวิชาการพิมพ์สกรีน แก้ไข10/02/2563
  12. สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ แก้ไข10/02/2563

ประเภทวิชาคหกรรม

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย แก้ไข 16/08/2564
  2. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ แก้ไข 16/08/2564
  3. สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ แก้ไข 16/08/2564
  4. สาขาวิชาธุรกิจความงาม แก้ไข 16/08/2564
  5. สาขาวิชาธุรกิจคหกรรม แก้ไข 16/08/2564
  6. สาขาวิชาการจัดการดูแลผู้สูงอายุ แก้ไข 16/08/2564
  7. สาขาวิชาเชฟอาหารไทย แก้ไข 16/08/2564
  8. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร แก้ไข27/07/2564

ประเภทวิชาเกษตรกรรม 

  1. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แก้ไข 24/03/2564
  2. สาขาวิชาพืชศาสตร์  แก้ไข 24/03/2564
  3. สาขาวิชาสัตวศาสตร์  แก้ไข 24/03/2564
  4. สาขาวิชาช่างกลเกษตร แก้ไข1/6/2564
  5. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร  แก้ไข 24/03/2564
  6. สาขาวิชาสัตวรักษ์  แก้ไข 24/03/2564
  7. สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม แก้ไข 24/03/2564
  8. สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ แก้ไข 24/03/2564
  9. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจเกษตร แก้ไข 18/06/2564
  10. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ระหว่างประเทศ แก้ไข 24/03/2564

ประเภทวิชาประมง

  1. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แก้ไข 24/03/2564
  2. สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แก้ไข 9/06/2564

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

  1. สาขาวิชาการโรงแรม แก้ไข11/2/2564
  2. สาขาวิชาการท่องเที่ยว แก้ไข4/01/2564
  3. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศ แก้ไข29/12/2563
  4. สาขาวิชาการจัดประชุมและนิทรรศการ แก้ไข12/5/2564

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แก้ไข3/11/2563
  2. สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แก้ไข3/11/2563
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม แก้ไข9/11/2563

ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ แก้ไข6/11/2563
  3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมส์และแอนิเมชั่น

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบแสง แก้ไข25/02/2564
  2. สาขาวิชาดนตรีและเทคโนโลยี แก้ไข25/02/2564
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย แก้ไข25/02/2564
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แก้ไข25/02/2564

ประเภทวิชาพาณิชยนาวี

  1. สาขาวิชาการเดินเรือ แก้ไข19/01/2564
  2. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกลเรือ แก้ไข19/01/2564
  3. สาขาวิชาอิเลคทรอเทคนิคคอล แก้ไข19/01/2564

ประเภทวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอุตสาหกรรม

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศเกษตรอุตสาหกรรม
  2. สาขาวิชาอากาศยานเพื่อการเกษตร
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตเกษตรอุตสาหกรรม
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มและการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่
  5. สาขาวิชาการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม

ในแต่ละหลักสูตรจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษานั้น ๆ อีกทีนะคะ ว่าจะมีบุคคลากร หรืออุปกรณ์ พร้อมในการจัดการเรียนการสอนในหมวดประเภทวิชาใดได้บ้าง ถ้าเราอยากทราบว่าสถานศึกษาใดที่เปิดสอนประเภทวิชาใดบ้าง แอดแนะนำให้เพื่อน ๆ ติดต่อกับสถานษึกษานั้น ๆ โดยตรงได้เลยจ้า ว่าสถานศึกษามีวิชาที่เราจะเรียนหรือเปล่า เพื่อความชัวร์เนอะ

ขอขอบคุณ : มติชนออนไลน์ , สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *