อันตรายจากอาการปวดท้องของผู้หญิง

อาการปวดท้องน้อยแบบเรื้อรังในสตรีคืออาการปวดท้องบริเวณท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากการโรคทางนรีเวชและสาเหตุอื่นๆ นอกจากนรีเวช ที่พบบ่อยๆได้แก่ ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการแปรปรวนของลำไส้ (Irritable Bowel Syndrome) การอักเสบเรื้อรังของลำไส้ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การปวดของกล้ามเนื้อและพังผืดของหน้าท้องแบบเรื้อรัง โรคไส้เลื่อน ระบบทางจิตเวช เช่น โรคเครียด อาการซึมเศร้าแบบเรื้อรัง ส่วนสาเหตุทางนรีเวชที่พบบ่อยๆ ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ซึ่งบางบ้านอาจรู้จักกันในโรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน ชอกโกแลตชีสท์ การอักเสบเรื้อรังในอุ้งเชิงกราน มดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญแทรกในกล้ามเนื้อมดลูก ( Adenomyosis Uteri) ในถุงน้ำของรังไข่ เลือดคั่งค้างมากผิดปกติในอุ้งเชิงกราน ( Pelvic Congestion Syndrome) เนื้องอกมดลูก กะบังลมอุ้งเชิงกรานหย่อน มะเร็งของมดลูกปากมดลูก รังไข่

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉันโรคเมื่อมาปรึกษากับแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์เชี่ยวชาญทางสูตินรีเวช จะได้จากการซักประวัติเกี่ยวกับประจำเดือน การปวดท้องขณะมีประจำเดือน ความเจ็บปวดร่วมกับเพศสัมพันธ์ ประวัติการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระ หรือโรคทางจิตใจ การตรวจร่างกายและการตรวจภายใน หรืออาจตรวจทางทวารหนัก จากการตรวจร่างกายอาจพบความผิดปกติของมดลูก เช่น กดเจ็บมีก้อนเนื้องอก การตรวจพิเศษเพื่อช่วยวินิจฉัยและยืนยันความผิดปกติของมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกและรังไข่สามารถตรวจด้วย

  • อัลตร้าซาวด์ (คลื่นเสียงความถี่สูง) อาจตรวจทางหน้าท้อง ตรวจทางช่องคลอด หรือตรวจทางทวารหนัก
  • การส่องกล้องเข้าช่องท้อง Laparoscopy เพื่อวินิจฉัยโรคและเพื่อการผ่าตัดรักษาได้ด้วย ซึ่ง Laparoscopy นี้จัดเป็นหัตถการที่มีประโยชน์มากที่สุดในปัจจุบันนี้
  • การส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูก Hysteroscopy เพื่อวินิจฉัยเนื้องอกในโพรงมดลูก มะเร็งโพรงมดลูก ผนังผิดปกติในมดลูก
  • การฉีดสีเข้าในเส้นเลือดดำในอุ้งเชิงกรานเพื่อวินิจฉัยโรค Pelvic Congestion Syndrome

การรักษา

รักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ โดยสรุปปัญหาทั้งหมดแล้วให้การรักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้อาการปวดท้องหายไป

การรักษาด้วยยา เช่น

  • กลุ่มยาแก้ปวดอื่น Nonsteroidal Antiinflammatory Drugs (NSAIDS) หรือยาแก้ปวดอื่น เหมาะสำหรับสาววัยรุ่นที่ปวดท้องประจำเดือนบางครั้งกินยาก็ช่วยทุเลา บางคนก็หายอาการได้ปลิดทิ้ง
  • ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนจะช่วยกรดการตกไข่ และควบคุมประจำเดือนให้ปรับเข้าสู่ปกติ ถ้าเกินไปนานพอสมควรจะช่วยลดปริมาณเลือดที่เสียไปขณะมีประจำเดือน
  • กลุ่มยาโปรเจสติน ยา Gonadotropin-releasing hormone agonists (GnRH-A) ยากลุ่มนี้จะกดการสร้างฮอร์โมนจากรังไข่ช่วยกดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

การรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดทางช่องท้องอาศัยกล้องลาปาโรสโคป สามารถเลาะพังผืดเลาะถุงเลือด ชอกโกแลตชีสต์ผ่าตัดเนื้องอก มดลูก รังไข่ และจี้ทำลายเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมดลูก Uterosacral Nerve Ablation หรือ ผ่าตัดมดลูก อาจรวมถึงตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง

ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดท้องน้อยแบบเรื้อรังข้างต้น สมควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม หลังจากได้รับคำปรึกษาอย่างละเอียด รับทรายถึงข้อดี ข้อเสียของการรักษา รวมทั้งทางเลือกอื่นๆส่วนใหญ่อาการปวดก็จะหายเมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

One comment

  1. รักษาโรคเนื้องอกมดลูกด้วยพลังธรรมชาติ สำหรับผู้หาแนวทางการรักษาเนื้องอก มะเร็ง พังผืด โรคร้าย โรคเรื้อรัง
    โรคที่รักษาไม่หายขาด โดยไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใด ๆ โรคเหล่านี้สามารถรักษาได้โดยพลังจากธรรมชาติ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *