โรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการที่ลำไส้ ติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อว่าซัลโมเนลลา (Salmonella bacteria) ซึ่งอาการของโรคเกิดขึ้น 12-48 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียโมเนลลาปนเปื้อนอยู๋เข้าไป อาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับคนเป็นไข้คือ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการท้องร่วงซึ่งอาการจะคงอยู่ประมาณ 2-3 วัน หรือมากกว่านั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเพลียและหมดแรง

แม้ว่าโรคอาหารเป็นพิษจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก แต่หากมีอาการหนักมากๆ ก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

คำแนะนำดังต่อไปนี้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน

  • ขณะทำการปรุงอาหารควรคำนึงอยู่เสมอว่า สิ่งที่กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ดีคือความร้อนและความสะอาด อุณหภูมิที่มากกว่า 68 องศาเซลเซียส  สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาลงได้ ส่วนความสะอาดก็สามารถหยุดการแพร่พันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียลงได้ อุปกรณ์ เช่น มีด หรือจานชามที่ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารสดก่อนการประกอบอาหาร ควรเปลี่ยนเป็นอย่างละชุดกับมีด หรือจานชามที่เตรียมไว้ใส่อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว การล้างมือและอุปกรณ์ทำครัวทุกชนิดก่อนและหลังการทำอาหารเป็นสิ่งจำเป็น
  • ควรแยกประเภทอาหารในการเก็บใส่ช่องแช่แข็ง การน้ำเนื้อสัตว์วางปนกับอาหารอย่างอื่นเป็นสิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติ
  • เชื้อแบคที่เรียเจริญเติบดตอยู่ระหว่าง 7-46 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ปรุงเสร็จแล้วไว้ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิดังกล่าวเกิน 2 ชั่วโมง
  • เชื้อแบคทีเรียโมเนลลามีอยู่ในสัตว์อย่างเช่น แมลง หนู รวมทั้งสัตว์เลี้ยงอย่าง เต่า นก แมว และสุนัขเช่นกัน การใกล้ชิดกับสัตว์ดังกล่าวก็อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียติดต่อมาสู๋เราได้ จึงไม่ควรให้ของใช้ของสัตว์เลี้ยงมาปนกับของใช้ในบ้านชนิดอื่นๆ ควรล้างมือทุกครั้งหลังจากดูแลสัตว์เลี้ยง และอย่าลืมสอนลูกให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

 

ที่มา :  แว่นคำ ฉายแสง. 2537. รู้แล้วใช้ประโยชน์ได้. ทัพอักษร การพิมพ์. กรุงทเพฯ.

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *