ทุกคนต้องรู้ การตรวจวัดคุณภาพอากาศและดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศไทย

กาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวัน ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อระบบทางเดินหายใจของเรา เพราะหากว่าเราสูดเอามลพิษและฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในร่างกายของเราทุกวัน ก็จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเรา การตรวจวัดคุณภาพอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

อากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวัน ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อระบบทางเดินหายใจของเรา
เอากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวัน ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อระบบทางเดินหายใจของเรา เพราะหากว่าเราสูดเอามลพิษและฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในร่างกายของเราทุกวัน ก็จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเรา การตรวจวัดคุณภาพอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นการเฝ้าติดตามมลพิษทางอากาศที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยรวมนั่นเอง 

ทุกคนต้องรู้ การตรวจวัดคุณภาพอากาศและดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศไทย
ทุกคนต้องรู้ การตรวจวัดคุณภาพอากาศและดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศไทย

การตรวจวัดคุณภาพอากาศตรวจอะไรบ้าง

            เราอาจจะคุ้นเคยกับการวัดระดับฝุ่นละอองในอากาศของประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงนั้น การตรวจวัดคุณภาพอากาศไม่ได้มีเพียงแต่ตรวจวัดฝุ่นละออง และฝุ่นละอองก็ไม่ได้มีเพียงขนาดเดียว แต่มีหลากหลายขนาด ซึ่งในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ มีการตรวจสารประกอบหรือมลพิษที่อยู่ในอากาศที่สำคัญดังนี้ 

  • ฝุ่นละออง โดยแบ่งเป็นฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งฝุ่นละอองทั้งสองชนิดเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลต่อระบบหายใจของเรา แขวนลอยในบรรยากาศได้นานกว่าฝุ่นละอองขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายสู่ชั้นบรรยากาศได้ จึงเป็นฝุ่นละอองชนิดที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีจำนวนมากจนส่งผลต่อสุขภาพของเรา
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของเรา เพราะสามารถไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง จนทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหากว่ามีความเข้มข้นของก๊าซชนิดนี้ในเลือดมากอาจจะทำให้วิงเวียน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน
  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่มีผลต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง กล่าวคือ หากได้รับในปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น อาจทำให้ปอดและระบบทางเดินหายใจเสียหายอย่างเฉียบพลัน แต่หากว่าได้รับในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลายาวนานก็อาจจะทำให้เสียชีวิตก่อนเวลาอันควรได้เช่นเดียวกัน 
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่มีกลิ่นฉุน ซึ่งเมื่อรวมตัวกับฝนจะกลายเป็นฝนกรดตกลงมานั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อเราสูดดมเข้าไป ก็จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และอาจจะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้นั่นเอง 

ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (AQI) ของประเทศไทย

            หลังจากตรวจวัดคุณภาพอากาศแล้ว ก็จะการใช้ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ เพื่อบอกว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยง ไม่ควรจะเข้าไป เพราะมีปริมาณสารพิษในอากาศอยู่สูง โดยในประเทศไทยมีค่ามลพิษทางอากาศตั้งแต่ 0-201 ขึ้นไป แบ่งเป็น 5 ระดับดังนี้ 

            0-25 คุณภาพอากาศดีมาก สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้

            26- 50 คุณภาพอากาศดี สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือท่องเที่ยวได้โดยที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

            51-100 คุณภาพอากาศปานกลาง ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว 

            101-200 คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ควรออกไปนอกบ้านหากไม่จำเป็น 

            201 ขึ้นไป คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

            การตรวจวัดคุณภาพอากาศจะช่วยเตือนเราได้ว่าพื้นที่ใดมีแนวโน้มที่มีอากาศเสียและมีมลพิษควรหลีกหลี่ยง โดยควรมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศทุกวัน ในสถานที่เสี่ยง เพื่อป้องกันสุขภาพร่างกายของผู้ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ดังกล่าวนั่นเอง

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *