ทำไมถึง”สะอึก”

สาเหตุของการสะอึกเกิดขึ้นจากอะไร  และมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ

ถ้าพูดถึงอาการ “สะอึก” หลายๆท่านคงเคยมีประสบการณ์ หรือเคยมีอาการที่เรียกว่า “สะอึก” นี้มาบ้างแล้ว โดยที่ไม่ว่าจะตั้งใจแก้ไขอย่างไรเราก็ไม่สามารถทำให้อาการ “สะอีก” นี้หยุดลงได้ เนื่องจากอาการ “สะอึก” มีสาเหตุมาจาก การหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่าง ช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนระบบประสามที่ควบคุมการทำงานของกระบังลม ซึ่งอาการ “สะอึก” นี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ก็ไม่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการสะอึกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนและแต่ละครั้ง  อาจเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง ใช้เวลาไม่กี่วินาทีไปจนถึง 2-3 นาที ซึ่งพบได้บ่อยๆ แต่หากสะอึกอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ หรือสะอึกในขณะนอนหลับ อาจต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของอวัยวะต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง ในช่องปอด ในระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เป็นต้น

คนส่วนใหญ่มักจะสะอึกหลังจากการรับประทานอาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไป หรือรับประทานอาหารที่ทำให้มีก๊าซมาก บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่มากเกินไป บางคนที่มีความตึงเครียดมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้

กลไกการ”สะอึก”

  1. ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมอยู่ตอนล่างของช่องอกจะเคลื่อนลงล่าง ทำให้ปอดขยายตัว และดึงดูดให้อากาศเข้าปอด
  2. กระบังลมเกิดการกระตุก ทำให้ลมหายใจตีกลับขึ้นข้างบน ขณะที่ลิ้นกล่องเสียงปิด ตัดกระแสลม ทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้น
  3. และเมื่อลิ้นกล่องเสียงเปิด กะบังลมคลายตัว และลมหายใจออกจากปอด
การรักษาอาการ  “สะอึก”
  1. ถ้าการสะอึกนั้นเกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่นานแต่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเดาได้ว่า เกิดจากการรับประทานอาหารดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ ก็ควรปรับปรุงพฤติกรรมการกิจเหล่านั้น หรือถ้าเป็น เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์
  2. กลั้นหายใจโดยการนับ 1-10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำทันที่หรือหายใจลึกๆ กลั้ยหายใจ หายใจในถุง 3-5 นาที่ การกลั้นหายใจ เป็นการเริ่มต้น การหายใจใหม่เพื่อให้การหายใจของเรากลับมาเป็นปกติ
  3. กลั้วน้ำในลำคอ จิบน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำเย็นจัดช้าๆ โดยดื่มตลอดเวลา และกลืนติดๆๆกันไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการสะอึกจะหาย หรือจนกลั้นหายใจไม่ได้
  4. เขี่ยภายในรูจมูกให้จาม
  5. กลืนน้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ หรือกลืนก้อนข้าว ก้อนขนมปัง หรือก้อนน้ำแข็งเล็กๆ
  6. ทำให้เกิดอารมร์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น  หรือกลัว
  7. ถ้าเป็นเด็กควรอุ้มใส่บ่า แล้วใช้มือลูบที่หลังเบาๆ
       วิธีการต่างๆเหล่านี้เป็นวิธีการสำหรับแก้ไขอาการสะอึก เบื้องต้นที่เกิดขึ้นเป็นเวลาไม่นาน แต่ถ้าลองทำวิธีต่างๆเหล่านี้แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาตามวิธีของแพทย์ต่อไป
       อาการสะอึกไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเราก็ไม่ควรละเลย หรือปล่อยทิ้งไว้โดยไม่สนใจ นะคะ เพราะมันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาภายหลังได้ ยังไงก็ปลอดภัยไว้ก่อน ดีที่สุดน๊ะค๊ะ ^__^”




6 Comments

  1. ผมมีอีกวิธี คือ ใช้ถุงพลาสติก มาปิดปากเเละจมูกไว้ จากนั้น หายใจเข้าออกในถุงไปเลยคุณจะรู้สึกว่าอาการสะอึกจะหายไป ผมใช้วิธีนี้ตลอด ลองใช้ครับผม(ไม่ได้โกหกน่ะครับ)

  2. ป่วยยูแล้ว แร้วมาสะอึกเปนชั่วโมงหาย10นาทีสะอึกใหม่ทั้งวันทั้งคืนม่ได้นอน ทำไงให้หายมียาตัวไหนบ้างค่ะ

  3. สะอึกตลอดเวลาและระบบการขับถ่ายแปรปรวน บางครั้งมีแก๊สมาจุกที่คอเป็นมา8-10เดือนแล้ว ไปหาหมอมาให้ยามาทานแต่ก็ไม่หาย มียาและวิธีไหนอีกไหมค่ะ

  4. ขอบคุณมากๆเลยค่ะ กลั้นหายใจแล้วนับ 1-10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำทันที่ หายจิงๆค่ะ ลองทำแล้ว

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *