บ้านเรานับว่าโชคดีมากๆที่ไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวซักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นต่างประเทศละก็ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากๆ เหตุการที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่าที่ไม่สามารถที่จะประเมิลได้ แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม วันนี้จันทร์ไทยบล็อกและทีมงานเราจะมานำเสนอสาระความรู้ดีๆให้เพื่อนๆชาวบล็อกอ่านอีกเช่นเคย นั่นก็คือความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวว่าแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นแล้วเราจะมีวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างไร เพื่อให้ชีวิตเราปลอดภัย ยิ่งบ้านเราที่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาก่อน ยิ่งควรจะต้องรู้ไว้ เพราะถ้าเกิดขึ้นแล้วจะได้เอาไปใช้ดีกว่าจะมาล้อมคอกทีหลังนั่นเอง
แผ่นดินไหว คืออะไร?
แผ่นดินไหว หรือ ธรณีพิโรธ คือ เหตุการณ์ภัยภิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ บริเวณเปลือกโลกแต่ละพื้นที่ซึ่งภายใต้พื้นโลกของเรานั้นเป็นของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อโลกของเราหมุน แต่ละจุดของเปลือกโลกก็จะเกิดความเคลียดสะสมไว้ใต้พื้นโลก เมื่อเปลือกโลกของเราถึงจุดๆหนึ่งจึงเคลื่อนตัวเพื่อปรับสมดุลอย่างที่ได้กล่าวไปนั่นเอง ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถคำนวณได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จะเกิดขึ้นที่ไหน ทำได้แค่เฝ้าระวังเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่จุดไหน ต้องรีบแจ้งให้ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าวออกจากพื้นที่เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมา
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้จากสองสาเหตุหลักๆคือ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเนื่องจากฝีมือมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมานู การยิงขีปณาวุธ การกักเก็บน้ำในเขื่อน แรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหวคือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก แบ่งออกเป็นสองทฤษฎีของการเกิดแผ่นดินไหวที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับ คือ ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก และ ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ
- ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
- ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม
สถิติข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
เรามาดูสถิติข้อมูลแผ่นดินไหวย้อนหลังในบ้านเรากันว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้วกี่ครั้งและบ่อยแค่ไหน
วันที่ – เวลา | M/I | ศูนย์กลาง |
6 มกราคม 2559 เวลา 04:28 น. | 3.5 | ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ( 18.20N , 98.06E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน |
16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 02:15 น. | 2.2 | อ.พาน จ.เชียงราย ( 19.69N , 99.70E ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย |
8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 23:47 น. | 6.2 | หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ( 6.79N , 94.50E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ,อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ,อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี, อ.เมือง จ.กระบี่ |
7 ตุลาคม 2558 เวลา 01:57 น. | 2.4 | ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ( 19.68 , 99.57 ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย |
20 สิงหาคม 2558 เวลา 19:10 น. | 4.5 | อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ( 15.00 , 98.42 ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี |
16 สิงหาคม 2558 เวลา 18:02 น. | 3.0 | อ.พาน จ.เชียงราย ( 19.62 , 99.73 ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย |
14 กรกฎาคม 2558 เวลา 21:25 น. | 4.8 | ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ( 15.01N , 98.47E ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.สังขละบุรี, อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี |
24 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:27 น. | 5.1 | ประเทศพม่า ( 20.56N , 99.02E ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และ จ.แม่ฮ่องสอน |
7 พฤษภาคม 2558 เวลา 00:30 น. | 4.5 | ใน ทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา ( 7.84N , 98.51E ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.พังงา จ.ภูเก็ต และ จ.กระบี |
6 พฤษภาคม 2558 เวลา 04:18 น. | 4.6 | ในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา ( 7.85N , 98.54E ) รู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ. พังงา จ.ภูเก็ต และ จ.กระบี่ |
25 มีนาคม 2558 เวลา 05:32 น. | 3.8 | นอกชายฝั่งทางทิศตะวันออกของ จ.ภูเก็ต ( 7.89N, 98.52E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง อ.กะทู้ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต, เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา |
20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:02 น. | 4.0 | อ่าวพังงา ทางทิศใต้ของเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา ( 7.87N, 98.57E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง อ.กะทู้ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต, เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา |
19 มกราคม 2558 เวลา 21:04 น. | 2.8 | ต.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง ( 17.50N, 99.35E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เถิน จ.ลำปาง |
6 ธันวาคม 2557 เวลา 17:20 น. | 5.9 | ยูนนาน ประเทศจีน ( 23.29N, 100.29E ) รู้สึกสั่นไหวที่ ตึกสูง จ.เชียงราย, จ.เชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร |
24 ตุลาคม 2557 เวลา 08:27 น. | 3.6 | อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ( 19.10N, 100.09E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา |
24 พฤษภาคม 2557 เวลา 10:12 น. | 3.6 | อ.นาน้อย จ.น่าน ( 18.40N, 100.77E ) รู้สึกสั่นไหวที่ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน |
5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18:08 น. | 6.3 | ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ( 19.75N, 99.69E ) ถนน อาคารและบ้านเรือน บริเวณใกล้จุดศูนย์กลางได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิต 1 คน เกิดโคลนผุด รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงราย, จ.แพร่, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.อุตรดิตถ์, จ.พิษณุโลก, จ.เชียงใหม่และตึกสูงในกรุงเทพมหานครฯ |
21 มีนาคม 2557 เวลา 20:41 น. | 6.4 | หมู่เกาะนิโคบาร์,ประเทศอินเดีย ( 7.64N, 94.21E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต |
1 ธันวาคม 2556 เวลา 00:37 น. | 3.2 | ต.จำป่าหวาย อ.เมือง จ.พะเยา ( 19.04N, 99.96E ) รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา |
11 ตุลาคม 2556 เวลา 01:19 น. | 4.1 | ต.ทุ่งหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ( 19.32N, 99.24E ) รู้สึกสั่นไหวที่ ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ |
จากรายการข้างต้นเป็นแค่ 20 เหตุการณ์ล่าสุด เราจะพบว่าในรอบสองสามปีที่ผ่านมานี้ แผ่นดินไหวเริ่มเกิดขึ้นถี่มากๆ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไปแล้ว เพื่อนๆสามารถดูบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งหมดได้ที่ สำนักเผ้าระวังแผ่นดินไหว ซึ่งจะมีรายการบันทึกไว้มากกว่าสามร้อยเหตุการณ์ในอดีตให้เราไปศึกษากัน
รวมภาพความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว