การตรวจนิฟตี้ (NIFTY test) คืออะไร

ในวันนี้นั้นแม่จะมาพูดถึงการตรวจ NIFTY test (Non-Invasive Fetal Trisomy Test) หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่าการตรวจ "นิฟตี้" ในคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ

สวัสดีค่ะชาวJanthaiที่น่ารักของเรา ช่วงนี้แอดก็จะมาในแนวคุณแม่ๆนิดนึงนะคะ เพราะตอนนี้แอดกำลังตั้งครรภ์ลูกคนแรกอยู่น๊า ช่วงนี้แม่ก็ได้ศึกษาหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ และจากการเก็บรวบรวมความรู้นั้นแม่ก็ไม่ลืมที่จะนำสาระความรู้ดีๆมาฝากทุกคนกันด้วยนะคะ

ในวันนี้นั้นแม่จะมาพูดถึงการตรวจ NIFTY test (Non-Invasive Fetal Trisomy Test) หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่าการตรวจ “นิฟตี้” ในคุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ

การตรวจ NIFTY test คืออะไร
การตรวจ NIFTY test คืออะไร

การตรวจ NIFTY test คืออะไร

นิฟตี้ หรือNIFTY test เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมของทารกในครรภ์ที่มีความแม่นยำ ที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากในตอนนี้ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน ไม่มีความเสี่ยงต่อมารดาและทารกในครรภ์ เนื่องจากการตรวจนั้นเป็นการตรวจที่ได้จากการเจาะเลือดของมารดาเพียง 16 – 20 ซีซีเท่านั้น

ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมสูงสุดถึง 23 คู่ รวมถึงโครโมโซมที่พบได้บ่อยได้แก่ 21, 18, และ 13 หากมีความผิดปกติกับโครโมโซมเหล่านี้ จะเป็นสาเหตุให้ทารกมีกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโดรม และพาทัวซินโดรมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติทางด้านจำนวนโครโมโซมเพศอีกด้วย

จุดเด่นของNIFTY test

  • NIFTY test เป็นการตรวจกรองซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถตรวจพบทารกกลุ่มดาวน์Trisomy 21(ดาวน์ซินโดรม), Trisomy 18(เอ็ดเวิร์ดซินโดรม) และTrisomy 13(พาทัวซินโดรม) ได้มากกว่าร้อยละ 99 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นที่มีใช้ในปัจจุบัน
  • การตรวจกรองวิธีอื่นให้ผลบวกลวงร้อยละ 5 แต่ NIFTY test มีโอกาสเกิดผลบวกลวงต่ำมาก คือ น้อยกว่าร้อยละ 0.1 ซึ่งจะช่วยลดความกังวลของคุณแม่ และลดจำนวนแม่ซึ่งต้องเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็นได้มาก
  • ในกรณีที่ผลกสรตรวจ NIFTY test ให้ผลเป็นบวก โอกาสที่ทารกมีโครโมโซมผิดปกติจะมากกว่าร้อยละ 99
  • ในกรณีที่ผลกสรตรวจ NIFTY test ให้ผลเป็นลบ โอกาสที่ทารกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์มีน้อยมาก
  • นอกจากนี้การตรวจ NIFTY test ยังสามารถทราบผลเพศลูกน้อยในครรภ์ ด้วยความแม่นยำมากกว่า 99.99% ได้อีกด้วย

เปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างNIFTY test กับวิธีอื่นๆ

วิธีการอายุครรภ์
(สัปดาห์)
ความเสี่ยง
ต่อทารก
ประสิทธิภาพ
ในการตรวจพบ
ตรวจทางชีวเคมี11 – 21ไม่มี65 – 85 %
ตรวจความหนาต้นคอ11 – 13ไม่มี64 – 85 %
ตรวจน้ำค่ำ16 – 21โอกาสแท้ง 0.5 – 1 %> 99 %
ตรวจชิ้นเนื้อรก10 – 13โอกาสแท้ง 1 – 2 %> 99 %
ตรวจเจาะเลือดจากสายสะดือ18 – 24โอกาสแท้ง 1 – 2 %> 99 %
NIFTY test10 – 24ไม่มี> 99 %

ความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมที่พบได้

ความผิดปกติอัตราการเกิด
ต่อเด็กแรกคลอด
อาการ
Trisomy 21
(ดาวน์ซินโดรม)
1 : 700พัฒนาการทางสมองล่าช้า
ระบบร่างกายผิดปกติ
Trisomy 18
(เอ็ดเวิร์ดซินโดรม)
1 : 3,300ปากแหว่งเพดานโหว่
ส่วนมากอายุไม่เกิน 1 ปี
Trisomy 13
(พาทัวซินโดรม)
1 : 7,400ส่วนมากเสียชีวิตหลังคลอด
ผลการตรวจ NIFTY test มีอะไรบ้าง
ผลการตรวจNIFTY test มีอะไรบ้าง

ผลการตรวจNIFTY test มีอะไรบ้าง และหมายความว่าอย่างไร

  • ากผลตรวจระบุว่าความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) หมายความว่า ลูกน้อยมีโอกาสน้อยมาก ที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมที่ได้ตรวจไปในรายการตรวจ อย่างไรก็ตาม การที่ผลตรวจระบุว่ามีความเสี่ยงต่ำนั้น ไม่ได้รับรองว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการตรวจไม่ได้เป็นการตรวจแบบวินิจฉัย เป็นแค่การตรวจคัดกรองสำหรับความผิดปกติบางประเภทเท่านั้น
  • หากผลตรวจระบุว่าความเสี่ยงสูง (High Risk) หมายความว่า ลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น ที่จะมีความผิดปกติของกลุ่มอาการใดอาการหนึ่งที่ได้ตรวจไป แต่ไม่ได้แปลว่า ลูกน้อยจะมีความผิดปกติอย่างแน่นอน การตรวจยืนยันผลจากการเจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจชิ้นรก หรือการตรวจเลือดทารกหลังคลอด จะสามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าลูกน้อยมีภาวะความผิดปกติดังกล่าวหรือไม่
  • หากไม่สามารถรายงานผลได้ (No Result) หมายความว่า ห้องปฏิบัติการไม่สามารถเก็บข้อมูลที่เพียงพอได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือด เป็นต้นว่าปริมาณหรือคุณภาพDNAของทารกไม่เพียงพอต่อการรายงานผล ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย หากเกิดขึ้น ทางบริษัทจะต้องร้องขอให้มีการเก็บตัวอย่างเลือดจากคุณแม่อีกครั้ง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

อายุครรภ์เท่าไหร่ถึงตรวจNIFTY test ได้

สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 – 24 สัปดาห์ แต่ช่วงอายุครรภ์ที่คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำจะอยู่ที่อายุครรภ์ 12 – 16 สัปดาห์

การตรวจนิฟตี้เหมาะกับคุณแม่ทุกคนหรือไม่
การตรวจนิฟตี้เหมาะกับคุณแม่ทุกคนหรือไม่

การตรวจเหมาะกับคุณแม่ทุกคนหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านมีความเสี่ยงต่อการมีบุตรผิดปกติสูงกว่าคุณแม่ท่านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • เคยมีประวัติบุคคลในครอบครัวที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • พบความผิดปกติจากการทำอัลตราซาวด์
  • ได้รับผลการตรวจคัดกรองเซรั่มเป็นบวก
  • มีประวัติการแท้งบุตรอย่างต่อเนื่อง

สมาคมพันธุศาสตร์การแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (American College of Medical Genetics and Genomics) ได้มีคำแนะนำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ควรได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกจากเลือดแม่ (NIPT) เนื่องจากมีความแม่นยำสูงกว่าการคัดกรองประเภทอื่นๆ

การตรวจนี้ถูกออกแบบมาเพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม ยกเว้นคุณแม่ซึ่งมีการตั้งครรภ์ประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากการใช้ไข่บริจาค
  • สตรีตั้งครรภ์ที่เคยไดเรับการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • การตั้งครรภ์แฝดที่มากกว่า 2 คน
  • การตั้งครรภ์แบบครรภ์แฝดแฝง หรือ vanishing twin หรือ fetal demise อาจจะไม่สามารถรายงานผลได้

การตรวจNIFTY test ส่งเลือดตรวจที่ใดได้บ้าง

สามารถส่งตรวจได้ทั้งแลปไทย และต่างประเทศเลยค่ะ แล้วแต่แพกเกจที่คุณแม่เลือกตรวจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางโรงพยาบาล หรือคลินิกที่คุณแม่เข้ารับการบริการด้วยนะคะ

การตรวจจะทราบผลภายในกี่วัน

ทราบผลการตรวจภายใน 10 – 14 วัน สำหรับ USA และ 7 – 10 วัน สำหรับประเทศไทย

แพกเกจและราคาในการตรวจนิฟตี้ (NIFTY test)

ในส่วนของราคา ราคาจะเริ่มต้นอยู่ที่หนึ่งหมื่นบาท ไปจนถึงหลักแสนเลยค่ะ แล้วแต่คลินิกและแพกเกจที่เราเลือก ถ้าส่งแลปในไทยราคาก็จะไม่แรงมาก แต่ถ้าเป็นแบบส่งแลปต่างประเทศราคาก็จะแรงหน่อย แพกเกจก็จะมีหลายตัวให้เลือก ลองเช็คข้อมูลได้ด้วยการสอบถามรายละเอียดต่างๆที่คลินิกที่เราเลือกใช้บริการได้เลยค่ะ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *