เวียนหัว บ้านหมุน ต้องระวัง !!

เวียนหัว บ้านหมุน สิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม แม้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้อันตรายมาก ๆ เมื่อพบว่ามีอาการเราควรรีบทำการรักษา หรือพบแพทย์โดยด่วน

เวียนหัว บ้านหมุน สิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม แม้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้อันตรายมาก ๆ เมื่อพบว่าอาการเราควรรีบทำการรักษา หรือพบแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตเราได้ วันนี้แอดได้นำความรู้เกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และวิธีรักษาของอาการเหล่านี้มาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

อาการเวียนหมุน (Vertigo)
อาการเวียนหมุน (Vertigo)

อาการเวียนหมุน (Vertigo)

อาการเวียนหมุน หมายถึง อาการที่รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหรือตัวเอง เคลื่อนไหวในขณะที่ไม่มีการเคลื่อนไหวจริงของตัวเองหรือสิ่งแวดล้อม ถ้าอธิบายแบบชัดเจน ” เพื่อน ๆ ลองนึกถึงตัวเองขณะปั่นจิ้งหรีด หรือเล่นเครื่องเล่นที่หมุนอยู่กับที่เร็ว ๆ แล้วหยุดทันที ” เราจะเห็นสิ่งแวดล้อมหรือตัวเราเองยังเคลื่อนไหวอยู่ ทรงตัวลำบาก บางคนอาจเซและล้มลง

โดยส่วนใหญ่ขณะมีอาการมักเป็นความรู้สึกหมุน แต่ก็สามารถพบลักษณะอื่นได้ เช่น เอียง ไหล หรือส่ายไปมา ซึ่งแตกต่างจากอาการมึนศรีษะ(dizziness) ที่รู้สึกแค่มึนงงคล้ายเมารถหรือเรือ แต่ไม่รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหรือตัวเองเคลื่อนไหว

และสาเหตุของอาการเวียนหมุน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ สาเหตุจากระบบการทรงตัวส่วนปลาย(Peripheral origin vertigo) และสาเหตุจากสมอง(Central origin vertigo) โดยสาเหตุ ระบบการทรงตัวส่วนปลาย จะพบได้บ่อยที่สุด

โรคของระบบการทรงตัวส่วนปลาย
โรคของระบบการทรงตัวส่วนปลาย

โรคของระบบการทรงตัวส่วนปลาย

โรคของระบบการทรงตัวส่วนปลายที่พบบ่อยได้แก่

  1. โรคหินปูนเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo, BPPV)
  2. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)

1.โรคหินปูนเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo, BPPV)

เป็นโรคเวียนหมุนจากระบบการทรงตัวส่วนปลาย ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบว่ามี 1.6% ของประชากร ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหินปูนเคลื่อนในแต่ละปี อายุที่พบบ่อยที่สุดคือ 50 – 60 ปี

สาเหตุเกิดจาก ผลึกหินปูน Calcium carbonate ที่หลุดเข้าไปในท่อที่ควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ทำให้เกิดการรบกวนของระบบการทรงตัว

ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนหมุนตามหลังการเปลี่ยนท่า โดยมักมีท่าที่อาการรุนแรงเฉพาะบางท่า(ที่พบบ่อยคือท่านอนลงหรือลุกจากที่นอน) ส่วนใหญ่มักมีอาการเวียนหมุนไม่นานเกิน 1 นาที และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงร่วมด้วย หลังจากเวียนหมุนมักมีอาการอ่อนเพลีย มึนงง

การรักษา โรคนี้ส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ใช้เววลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ การรักษาช่วยให้หายเร็วขึ้น คือการรักษาทำได้โดยการหมุนศรีษะโดยแพทย์ โดยขณะทำการรักษาจะกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนหมุน และหลังจากการรักษามักมีอาการมึนศรีษะอยู่ประมาณ 1 – 2 วัน และอาการเวียนหมุนจะลดลงและมักหายไปใน 1 สัปดาห์

2.โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)

เป็นโรคที่ถูกพูดถึงบ่อย และมีการวินิจฉัยผิดบ่อย โดยมีความชุกอยู่ที่ 190 รายต่อประชากรแสนคน (ซึ่งน้อยกว่าโรคหินปูนเคลื่อน) มักพบในช่วงอายุ 60 – 69 ปี

สาเหตเกิดจาก โรคนี้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดอย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีการบวมน้ำในหูชั้นใน ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนหมุนที่เกิดขึ้นเอง นานตั้งแต่ประมาณ 20 นาทีขึ้นไปจนถึงหลายชั่วโมง ร่วมกับมีอาการแน่นในหู การได้ยินลดลง เสียงดังในหูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

การรักษา ทำโดยการควบคุมการบริโภคเกลือ ลดการปรุงอาหารเพิ่ม งดชา กาแฟ ช็อกโกแลต งดแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ พยายามทำจิตใจให้ห่างจากความเคลียด พักผ่อนให้เพียงพอ

การใช้ยา ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายชนิด เช่น ยาแก้เมารถเมาเรือ(dimenhydrinate) ยาขับปัจสาวะ(Dynazide) ยาที่สกัดมาตรฐานจากใบแปะก๊วย(Standardizen Ginkgo Biloba Extract) ยากลุ่มเบต้าฮีสทีน(betahistine)

ขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.อนันต์ กุลทวีทรัพย์ หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *