บ้านน็อคดาวน์นั้นกำลังเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความสะดวกสบายในการสร้าง ราคาที่ย่อมเยาว์ จะโยกย้ายไปที่ใหม่ก็สามารถทำได้ สำหรับราคาของบ้านน๊อคดาวน์นั้นก็มีให้เลือกหลากหลายตามงบประมาณ วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาเสิร์ฟให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน
บ้านน็อกดาวน์ คืออะไร
บ้านน็อกดาวน์ (Knock Down Home) คือกลุ่มย่อยของบ้านสำเร็จรูป (Finished Home) เป็นที่อยู่อาศัยที่ใช้พื้นที่ใช้งานเป็นออฟฟิศ, ร้านค้า จนกระทั่งเป็นที่อยู่อาศัยได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวรได้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้มีอายุราว 10-15 ปี
ความแตกต่างระหว่างบ้านน็อกดาวน์ กับบ้านสำเร็จรูป หรือบ้านก่ออิฐ
1. บ้านน็อกดาวน์ไม่มีคาน ใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนัก
2. ขั้นตอนประกอบบ้านน็อกดาวน์ ไม่มีเศษขยะ และฝุ่นละออง เท่ากับการสร้างบ้านจากอิฐ ปูน เพราะถูกตัดชิ้นส่วนมาพร้อมประกอบแล้ว
3. อายุการใช้งานของบ้านน็อกดาวน์ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ประกอบ
4. หลังคาบ้านน็อกดาวน์
มักนิยมใช้หลังคาเมทัลชีท หรือกระเบื้องที่มีน้ำหนักเบา จึงเป็นข้อแตกต่างที่ชัดเจน และไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์หนักๆ ไว้บนหลังคา เพราะเสี่ยงทรุด
5. ผนังบ้านน็อกดาวน์
นอกจากไม้แล้ว ยังนิยมใช้กลุ่มผนังเบา อย่างซีเมนต์บอร์ด หรือผนังสำเร็จรูปที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ ผสมด้วยเส้นใยเซลลูโลส และแต่งเติมด้วยวัสดุอื่นๆ เพื่อให้ผนังทนความร้อนและแสงแดด
6.เสาบ้านน็อกดาวน์
เสาบ้านน็อกดาวน์มักทำด้วยเหล็ก เช่น เหล็ก H Beam ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโครงสร้าง และแม้ว่าเหล็กจะเคลือบด้วยสารกันสนิมแล้ว ต้องคอยตรวจสอบการผุกร่อนตามอายุการใช้งาน
7.พื้นบ้านน็อกดาวน์
การปูพื้นบ้านน็อกดาวน์นั้นวางซีเมนต์บอร์ด เพื่อปูพื้นลามิเนต พื้นกระเบื้อง หรือปูกระเบื้องเซรามิกเพิ่มเติมได้เหมือนกับพื้นบ้านทั่วไป ข้อควรระวังก็คือ ควรเลือกวัสดุที่ทนความชื้น ป้องกันเชื้อราจากพื้นดิน และมีน้ำหนักที่พอเหมาะ
8.การเลือกเฟอร์นิเจอร์ใช้กับบ้านน็อกดาวน์
หากคุณตัดสินใจซื้อบ้านน็อกดาวน์สักหลังเพื่อสร้างออฟฟิศ ร้านค้า หรือไว้อยู่อาศัย ก็อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องน้ำหนักของบ้านน็อกดาวน์ เมื่อเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ เราสามารถบิวต์อิน (Built-In) ได้ แต่ส่วนประกอบทั้งหมดต้องไม่ทำให้บ้านหนักเกินไป โดยปรึกษากับผู้จำหน่ายให้ชัดเจน ขอคำปรึกษาหลังการขายว่าเราสามารถต่อเติมได้มากน้อยแค่ไหน
ซื้อบ้านน็อกดาวน์ ดีไหม พิจารณาด้วย 5 เหตุผลนี้
หากคุณต้องการซื้อบ้านน็อกดาวน์เพื่ออยู่อาศัยเป็นบ้าน ไม่ได้รวมเหตุผลที่ว่าจะซื้อมาทำเป็นร้านค้า หรือออฟฟิศชั่วคราว ควรพิจารณา 5 ข้อ ต่อไปนี้
1. ใช้งานอะไร
หากคุณต้องการซื้อบ้านน็อกดาวน์เพื่อเป็นบ้านพักอาศัย หรือทำโฮมสเตย์ ต้องนำราคาบ้านมาคำนวณกับระยะเวลาที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบใดก็ตาม เริ่มใช้งานไปสักพักก็จะต้องจ่ายซ่อมบำรุง อาทิ หน้าต่างรั่ว น้ำฝนซึม เป็นต้น
2. ผู้ใช้งาน
จำนวนผู้ใช้งานจะเป็นตัวตัดสินใจซื้อบ้านน็อกดาวน์ที่ดีอย่างหนึ่ง หากมีผู้อยู่อาศัยหลายคน ก็จะคำนึงถึงความเสื่อมของตัวบ้านได้
3. ติดตั้งที่ใด
หากตัวบ้านน็อกดาวน์ติดตั้งใกล้กับต้นไม้หรือดินที่มีความชื้น ก็มีโอกาสเกิดปัญหาเชื้อราตามผนังหรือพื้น รวมถึงหากเคยเป็นพื้นที่น้ำท่วมบ่อย ก็จะมีผลต่อโครงสร้างที่เป็นเหล็ก เพราะฉะนั้นผู้ซื้อควรคำนึงถึงรายละเอียดให้มาก
4. วัสดุโครงสร้างบ้านน็อกดาวน์
วัสดุเป็นตัวกำหนดราคาของบ้านน็อกดาวน์ ถ้าเราทราบถึงยี่ห้อวัสดุแต่ละส่วนได้ก็ก่อนก็จะทำให้ตัดสินใจได้ง่าย ส่วนใหญ่แล้วผู้ขายจะต้องชี้แจงมาในใบเสนอราคา เพื่อให้ผู้ซื้อเปรียบเทียบรายละเอียด
5. งบประมาณในการมีบ้าน
ราคาบ้านน็อกดาวน์ เริ่มต้น 50,000 – 90,000 บาท บางเจ้าให้แอร์ กับเดินระบบไฟฟ้าให้วิธีการคิดง่ายๆ ว่าจะซื้อบ้านน็อกดาวน์ หรือจะสร้างบ้านเองดี ก็ให้นำราคามาคำนวณกับพื้นที่ใช้สอยที่จะได้ รวมถึงอายุการใช้งาน
บ้านน็อคดาวน์ งบ 50,000 บาท
บ้านสำเร็จรูปราคาย่อมเยา ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างเป็นเหล็กสำเร็จรูป ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน แถมยังมีหลายระดับราคาเริ่มต้นหลักหมื่นก็สามารถเป็นเจ้าของบ้านสวย ๆ ได้ ซึ่งนอกจากจะมีดีไซน์ให้เลือกมากมายหลายแบบแล้วนั้น ยังสามารถตกแต่งให้สวยงาม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในแบบที่เราชอบได้ไม่แพ้บ้านปูนหรือบ้านไม้อีกด้วย
ตัวอย่างบ้านน็อคดาวน์สวยๆงบไม่เกินหลักหมื่น
แอดมินได้รวบรวมแบบบ้านน็อคดาวน์สวย ๆ ที่ใช้งบในการสร้างไม่เกินหลักหมื่นมาฝากด้วยนะคะ ไว้เป็นไอเดียในการทำบ้านหลังน้อยของเรากันจ้า
ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก : ไทยรัฐออนไลน์
ขอบคุณภาพตัวอย่างบ้านสวยๆจาก : Pinterest
ทุกท่านค่ะ
ขอทราบรายละเอียดแบบที่ 2 5 และ 9 ค่ะ
-ขนาดเท่าไหร่
-วัสดุที่สร้าง
-ราคา
-ค่าขนส่ง จ.นครพนม
-ระยะเวลาก่อสร้าง
ขอบคุณค่ะ
สนใจคะ
อยากรายละเอียด แบบบ้านที่ 7 / 10 ขนาดบ้าน และราคา ครับ
อยากได้รายละเอียดและราคา1-2-3ครับ
สนใจงบประมาณ5หมื่นคะ