การหลีกเลี่ยงการเกิดอัคคีภัยในบ้าน

การหลีกเลี่ยงการเกิดอัคคีภัยในบ้าน

ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากการคุกคามของเพลิงไหม้ได้สำเร็จ อุบัติเหตุจากเพลิงไหม้ได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนนับพันในแต่ปี และสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินอย่างประเมิณค่ามิได้

ดูแลสถานที่อยู่อาศัย ระมัดระวังวัตถุไวไฟดังต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 วัตถุที่ติดไฟง่าย กระดาษ ไม้ เสื้อผ้าและวัสดุที่มีคุณสมสบัติอื่นคล้ายคลึงกัน

ประเภทที่ 2 ของเหลวที่มีลักษณะไวไฟ แก๊ส น้ำมัน น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ แล็กเกอร์และทินเนอร์

ประเภทที่ 3 อุปกรณ์สื่อนำไฟฟ้า

หากปฏิบัติตามคำเตือนเหล่านี้ได้อัตราความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยก็จะลดน้อยลง

  1. ตรวจสอบการชำรุดของเครื่องใช้ไฟฟ้า รอยแตกปริของสายไฟ
  2. ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเต้ารับเต้าเสียบที่เกิดสนิม
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าเกินอัตรากำลังที่มันสามารถรองรับได้ เช่น เสียบปลั๊กสามตา ลงไปในเต้ารับเดียวกันหลายๆ อัน
  4. ตรวจดูบริเวณหลังตู้เย็นหรือหลังเครื่องซักผ้าว่ามีวัตถุไวไฟใดๆ ตกหล่นอยู่หรือไม่
  5. อย่าลากโยงสายไฟผฟ้าผ่านใต้พรมปูพื้น
  6. ไม่ควรให้มือเปียกขณะเสียบสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะน้ำเป็นของเหลวที่นำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง
  7. สอนลูกหลานไม่ให้แหย่มือ ดินสอหรือวัตถุปลายแหลมเข้าไปในเต้าเสียบ
  8. ใช่ชนวนหรือฟิวส์ที่ได้รับการรองรับแล้วเท่านั้น อย่านำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใส่เอาไว้ในสวิตซ์ไฟ ฟิวส์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจะต้องเป็นฟิวส์ที่กันความร้อนได้

เมื่อเกิดไฟลุกลามภายในบ้าน

  • สมาชิกทุกคนในครอบครัวคสรหลบหนีออกจากบ้านให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรมีการยัดแนะกันก่อนว่าจะไปรวมกันที่จุดใด (หากทำได้) เพื่อนับจำนวนว่าทุกคนปลอดภัยดี
  • ใช้สามัญสำนึก อย่าตื่นตระหนกจนเกิดไป  ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าทิศทางที่กำลังจะไปไม่มีไฟลามมาหรือไม่มีเครื่องกีดขวางที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการหลบหนี
  • โทรแจ้ง 191 หรือสถานีดับเพลิงใกล้บ้าน (ควรจดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินนี้ใว้ใกล้ๆ เครื่องโทรศัพท์)

ที่มา :  แว่นคำ ฉายแสง. 2537. รู้แล้วใช้ประโยชน์ได้. ทัพอักษร การพิมพ์. กรุงทเพฯ.

 


Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *