เรื่องของเรื่องและที่มาของเรื่องนี้ มาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ศาสตราจารย์ ทีนา ซีลิก สอนวิชานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ตั้งโจทย์ให้กับนักศึกษา โดยโจทย์นั้นมีว่า เงินให้ห้าเหรียญ ให้เวลาประชุมกันไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ ให้เวลาสองชั่วโมงสำหรับปฏิบัติการตามแผน แต่ต้องทำกำไรให้ได้มากที่สุด !!
การแบ่งกลุ่มนักศึกษา แบ่งออกเป็น 14 ทีม ทุกทีมต้องแยกย้ายกันไปหนึ่งสัปดาห์แล้วกลับมารายงานหน้าชั้นเรียนเป็นเวลา 3 นาที
มาดูสิ่งที่นักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแต่ละทีมเลือกทำกันจากเงินห้าเหรียญ กลุ่มหนึ่งเอาเงินจำนวนน้อยนิดไปซื้อมะนาว น้ำตาลและมาทำน้ำมะนาวขายหน้ามหาวิทยาลัย
กลุ่ม ต่อมารับจ้างเติมลมยางรถจักรยานหน้ามหาวิทยาลัยคิดเงินคันละหนึ่ง เหรียญจนกระทั่งพวกเขาค้นพบว่า ถ้าขอเป็นเงินบริจาคจะได้เยอะกว่าเลยเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคแทน
ส่วน กลุ่มที่สามได้เงินมากกว่า และคิดสร้างสรรค์ได้ไม่เลว พวกเขาตัดสินใจเลือกทำงานในคืนวันศุกร์และให้เพื่อนผู้ชายขับรถพาสาวๆ ไปทิ้งไว้หน้าร้านอาหารที่คนแน่นแล้วให้ไปจองคิวตามร้านอร่อยที่ลูกค้าต้อง ยืนรอกันเกือบชั่วโมง พอได้คิวแล้วก็เอาคิวไปขายให้ลูกค้าคนอื่นที่เพิ่งมา คิดเงินคิวละ 20 เหรียญ กลุ่มนี้หาเงินได้หลายร้อยเหรียญในเวลาสองชั่วโมง เพราะใครก็ไม่อยากรออาหารอีกหนึ่งชั่วโมง
ส่วนกลุ่มที่ชนะเลิศหาเงิน ได้ถึง 650 เหรียญ เป็นกำไรถึง 130 เท่าตัว และที่น่าทึ่งคือ พวกเขาไม่ได้ใช้เงินห้าเหรียญนั้นเลย เขาทำได้อย่างไร???
หลังจากประชุมกันนาน ทุกคนในกลุ่มโหวตว่า พวกเขาจะ “ขายเวลา”
นักศึกษากลุ่มนี้เฉลยว่า พวกเขานั่งประชุมกันนานว่า จะทำอะไรกันดี บางคนบอกไปซื้อลอตเตอรี่ดีกว่า ไปลาสเวกัส ฯลฯ
แต่ ในที่สุดทุกคนสรุปว่า ต้นทุนที่ดีที่สุดที่พวกเขามีไม่ใช่เงิน 5 เหรียญ แต่เป็น “เวลา 3 นาที” สำหรับการนำเสนอแผนธุรกิจหน้าห้องเรียนที่เต็มไปด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัย สแตนฟอร์จำนวนเป็นร้อยๆ คนที่นั่งฟังโดยไม่ลุกไปไหน
นักศึกษาจึงหาบริษัทที่ต้องการขายสินค้าแล้วขายเวลา 3 นาทีที่ตัวเองต้องพรีเซ็นต์
ให้กับบริษัทที่ต้องการเวลา 3 นาทีโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
พอ ถึงวันจริง นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ต้องทำอะไรนอกจากฟังเพื่อนพรีเซ็นต์และพอถึงเวลาของตัว เอง ก็ให้บริษัทที่ตกลงกันไว้มาพรีเซ็นต์สินค้า เสร็จแล้วจ่ายเงิน 650 เหรียญสำหรับเวลา 3 นาทีให้กับทีมนักศึกษาที่ขายเวลาให้
บริษัทยิ้ม นักศึกษายิ้ม และอาจารย์ยิ้มมากกว่า ที่ลูกศิษย์คิดได้นอกกรอบเหลือเชื่อ
บทความนี้ตัดมาจากหนังสือชื่อ What I Wish I Knew When I Was 20 by Tina Seelig จาก มหาวิทยาลัย Standford ผมคิดว่าประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือป่าว แต่มันอยู่ที่ว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง และเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตัวเรายังไงมากกว่า