เพลงพื้นบ้าน
“เพลงพื้นบ้าน” แต่ละภาคจะมีการร้อง การแต่งที่ไม่เหมือนกันแต่ละภาคแตกต่างกันมากแต่ละเพลงแต่ละภาคก็มีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้งทำนองทั้งการขับร้องก็ไม่เหมือนกันและมีความสนุกสนานต่างกันมาดูกันดีกว่าว่ามีความแตกต่างยังไงบ้าง
เพลงพื้นบ้าน
หมายถึง บทร้อยกรองของชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาจัดเป็นลักษณะศิลปะของกลุ่มชนลักษณะที่เด่นชัดของเพลงพื้นบ้านคือความเรียบง่ายของบทร้อยกรองและไม่ติดอยู่กับกฎเกณฑ์มีความเป็นอิสระทางภาษา
ที่มาของเพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีมาช้านานแล้ว ถ่ายทอดกัน โดยทางมุขปาฐะจำต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกันว่า มีกำเนิด ก่อนศิราจารึกพ่อขุนรามคำแหงเสียอีก ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีสัมผัสคล้องจอง ท่วงทำนองไปตาม ภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆจะมีจังหวะดนตรีท้องถิ่น(Folk music) เข้ามาและการขับร้องไปด้วยจึงเกิดระบำชาวบ้าน (Folk dance) เพลงพื้นบ้านจึงใช้ร้องในงานบันเทิงต่างๆมีงานลงแขกเกี่ยวข้าว ตรุษสงกรานต์และอื่นๆ
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน แต่ละภาค 4 ภาค
ตัวอย่างเพลงพื้นบ้านแต่ละภาค
ตัวอย่างเพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
เพลงแคน
ฟังเนอเจ้าพวกหมู่ซายฮาม
ฉันสิบอกไปตามครองเมียดีฮ้าย
เผิ่น ได้จัดแบ่งไว้มีอยู่เจ็ดคน
ให้มันหายกังวลความชมของบ่าว
ดังซิยกมากล่าวให้เห็นเหตุผล
เบิ่งตัวคนก็คือกันนั่นละ
แต่ผิดลักษณะใจบ่คือกัน
นี่แหละข้อสำคัญให้พากันสังเกต
ลางคนเพศซิ่นไหมแพรงาม
ยามเมื่อแลงเที่ยวหาคบชู้
เฮือนบ่อยู่เที่ยวหาสำบาย
อยากให้ชายเบิ่งเห็นแล้วมัก
ให้ซายทักถามข่าวไปมา
การพูดจาหัวแหหัวแห่น
นี่ละตั้งโตแก่นมันซิมานทาง
ลางคนพลางเว่าแต่เผิ่นบ่าว
หายให้ซายฮู้ข่าวว่าโตนี้ดี
ลางคนมีวาจาหยาบซ้ำ
ปากแก่กล้าบ่มวนนำคน
ลางคนบ่เป็นตาอยู่
ปวดนำซู้ห่อหมากฝากหา
จนได้ให้ซายเขาหลอก
หญิงปลิ้นปลอกอย่างนี้มีหลาย
ใจมันอยากเป็นนายเมียครูผู้ใหญ่
ลางคนได้ตามบ่าวทางไกล
พ่อแม่ตกใจดูพอหาลูก
ลางคนถูกซายล้อจนมาน
นีละอนาจารขายหน้าพ่อแม่
บ่าวไปแวะชมหลอกหยอกนาง
ฮู้ว่าเขาตัวพลางเป็นหยังจังเชื่อ
ให้เขาหลอกหลายเทื่อจนบ่าวสาวลือ
จนได้ลงมือเล่นนำผู้บ่าว ฯ
(ศัพท์ควรรู้ ซายฮามคือชายงาม ฮ้ายคือร้าย เผิ่นคือท่าน
บ่าวคือหนุ่ม เพื่อน เบิ่งคือมอง ซู้คือชู้ เฮือนคือเรือนหรือบ้าน มักคือรัก
โตคือตัวมานคือท้อง เว่าคือพูดจา มวนคือไพเราะ ฮู้คือรู้
หยัง คือ อย่างนั้น จังคือยัง เทื่อคือครั้ง)
ภาคเหนือ
เพลงค่าวซอ
หญิงกับจาย
กันได้ถูกเนื้อ
เหมือนดั่งค้าง
หิวไฟ
(ความหมายหญิงกับชาย เมื่อได้ถูกตัวกันเหมือนครั่งที่แข็งกระด้างลนไฟ)
ภาคกลาง
เพลงเกี่ยวข้าว
คว้าเถิดนาแม่คว้า
รีบตะบึงถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย
เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว
อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือเอย
เกี่ยวข้าวแม่ยาย
ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำเอย
คว้าเถิดหนาแม่คว้า
ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย
ภาคใต้
เพลงบอก
ปาน
อันพวกเราเหล่าบริษัท โดยมากเข้าวัดแล้วมักว่า ตั้งนะโมตัสสะ เคยว่ากัน
นับโหล จนถึงสัมพุทธัสสะ สุดท้ายของบทนโม น้ารอดต้องโร้ แปลความที่
ปานได้ถามไป
รอด
ความจริงน้องต้องถามพระ เพราะว่าธรรมะสำหรับทาน มาถามน้ารอด
อยู่ที่บ้าน น้าพานให้ยักหงาย ….รอดไม่รู้เรื่องธรรมะ จงไปถามพระ
เถิดน้องชาย ……
ปาน
น้ารอดบวชกายเปล่า ๆ พอเขาได้เรียกเณร
(ศัพท์ควรรู้ โร้คือรู้ เณรคือคำเรียกผู้ที่บวชพระแล้ว เป็นภาษาถิ่น เรียกกันตามศักดิ์ เช่น พี่เณร
น้องเณร น้าเณร ถ้าผู้บวชเป็นลูกเขย พ่อตาแม่ยายจะเรียกเณร …… แล้วเอาชื่อมาต่อท้าย พ่อแม่ก็เรียกลูกของตนว่าเณร เหมือนที่ภาคกลางเรียกว่าทิด ยักหงายคือหงายหลัง)
(จากหนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 ประครอง เจริญจิตรกรรม)
เอาละค่ะทุกคนคงรู้จักเครื่องดนตรีของภาคต่างๆแล้วและรู้ความหมายของดนตรีพื้นบ้านด้วยเพื่อนนำไปเรียนรู้ต่อไปก็ได้นะค่ะ