นิติบุคคล คืออะไร

นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มี สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฏหมายเหมือนบุคคลธรรมดา และสามารถทำกิจการอันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ได้ตามกรอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา และมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ ทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน ทั้งยังมีหน้าที่ในการเสียภาษี และเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ได้เช่นกัน เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง ต้องไปดูว่ากฎหมายสมมติให้อะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง กฎหมายสามารถบัญญัติให้อะไรเป็นนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้มีมากมาย จึงของแยกนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ

นิติบุคคล
นิติบุคคล

1.นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภทได้แก่

1.1. บริษัทจำกัด คือบริษัทที่มีการแบ่งทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่าๆกัน โดยจะมีผู้ถือหุ้น 7 คนขึ้นไป และผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินหุ้นที่ตนถือ และบริษัทจำกัดนี้ กฏหมายบังคับให้จดทะเบียนและเมื่อจดทะเบียนแล้วจึงจะเป็นนิติบุคคล

1. 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด.

1. 3. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. 4. สมาคม  คือบุคคลหลายคนตกลงร่วมกันเพื่อทำการอันใดอันหนึ่งที่มีลักษณะต่อเนื่องรวมกันและไม่ใช่เป็นการหากำไรหรือรายได้มาแบ่งกัน จึงต่างจากบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งมุ่งหวังเพื่อหากำไร และสมาคมที่จะทะเบียนแล้วก็จะเป็นนิติบุคคล

1. 5. มูลนิธิ  คือทรัพย์สินอันจัดสรรไว้โดยเฉพาะ สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล สาธารณะ ศิลปะวิทยาศาสตร์ ศาสนา การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยมิได้มุ่งหมานเพื่อหาผลประโยชน์มาแบ่งกัน และต้องจดทะเบียนตามกฏหมาย มูลนิธิที่จดทะเบียนแล้วจึงจะเป็นนิติบุคคล

2.นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชนฯ

ข้อจำกัดของนิติบุคคล
ข้อจำกัดของนิติบุคคล

 

 ข้อจำกัดของนิติบุคคล โดยปกติ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็มีสิทธิและหน้าที่บางอย่างที่โดยสภาพแล้วมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น นิติบุคลจะทำการจดทะเบียนสมรสไม่ได้            นอกจากนี้ ด้วนสภาพของนิติบุคคลย่อมไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่มีสมองคิดเหมือนบุคคลธรรมดา  นิติบุคคลจะมีความสามารถ สิทธิ และหน้าที่ภายใน ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เท่านั้น และจะแสดงออกซึ่งสิทธิและหน้าที่ก็แต่โดยผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล

 ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล คือ จุดมุ่งหมาย หรือขอบเขตแห่งอำนาจของนิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ นิติบุคคลนั้นตั้งมาเพื่ออะไร และจะทำอะไรได้บ้าง

ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล เปรียบเสมือนเป็นตัวนิติบุคคลนั้นเอง

ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน

สภาพนิติบุคคลจะเริ่มตั้งแต่

-เมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน

-เมื่อพระราชบัญญัติที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลบังคับใช้ ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *