หลายท่านอาจเคยได้ยินคำหวานที่ออกจะ หว๊านน หวานซะเหลือเกินเวลาที่หนุ่มๆจะจีบสาวๆ ก็มักจะบอกว่า สีห้องหัวใจของพี่มีให้น้องคนเดียว อิอิ จริงๆแล้วหัวใจคนเราก้มีสี่ห้องจริงๆนั่นแหละนะคะ แต่จะสี่ห้องอย่างที่พี่เขาบอกมั้ย มาดูกันดีกว่าค่ะ ^__^
หัวใจคนเราเริ่มเต้นตั้งแต่ที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ตอนอายุตัวอ่อนได้เพียง 22วัน และจำเป็นต้องเต้นตลอดไปนะ ถ้าเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ปกติหัวใจคนเราจะบีบตัวเฉลี่ยประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที ส่งเลือดไปเลี้ยงทั้งร่างกาย ประมาณ 5-6 ลิตรต่อนาที ทำหน้าที่เสมือนปั๊มน้ำ ส่งเลือดที่นำอาหารและออกซิเจน รวมถึงสารต่างๆที่จำเป็นไปเลี้ยงร่างกายนั้นเอง ถ้าคุณอายุ 35 ปี หัวใจคุณจะต้องบีบตัวไปแล้วประมาณ 1,100,736,000 ครั้ง น่าเหนื่อยแทนนะ ถึงแม้ว่าหัวใจจะดูแข็งแรงมากก็ตาม หัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายที่สามารถเกิดความผิดปกติหรือโรคขึ้นได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของให้ดีพอ เหมือนกับเราต้องดูแลทะนุถนอมหัวใจคนที่เรารักเช่นเดียวกัน โรคหัวใจนั้นมีอยู่หลายชนิด แต่มักเรียกรวมๆกันไปว่า เป็นโรคหัวใจโต จริงๆแล้ว เราอาจแบ่งโรคหัวใจออกเป็นหลายชนิด เช่นโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหวัใจ
หัวใจผิดปกติ โดยทั่วไปหัวใจของผู้หญิงมีขนาดประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของหัวใจผู้ชาย หัวใจคนปกติมีสี่ห้อง ห้องบนสองห้องและห้องล่างสองห้อง ข้างขวาและข้างซ้าย หัวใจซีกขวาจะส่งเลือดดำไปฟอกที่ปอด กลายเป็นเลือดแดง กลับเข้าสู้หัวใจซีกซ้าย ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอีกทีหนึ่ง แต่เชื่อหรือไม่ว่า หัวใจซึ่งบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ ของร่างกายนี้ กลับกลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้มากที่สุด ทุกๆคนคงเคยสงสัยว่า หัวใจซึ่งมีเลือดอยู่เติมไปหมด ทำไมถึงขาดเลือดได้ เหตุผลจริงแล้วก็คือ เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั้น จะส่งไปตามหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่าหลอดเลือดแดง โคโรนารีย์ (coronary artery)ซึ่งถ้ามีการตีบตันของหลอดเลือดแดง โคโรนารีย์ นี้ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ลดน้อยลง ทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดได้
หัวใจป่วย ปัจจุบันเราพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่งมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งการพัฒนาการในด้านพันธุกรรมไม่สามารถจะตามทันได้ ทำให้เรามีโอกาสเป็นโรคหัวใจง่ายขึ้น ถ้าเราจะป้องกันการเกิดโรคนี้ ก็ต้องทราบถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่หลอดเลือดหัวใจก่อน ซึ่งมีกระบวนการ การเกิดอยู่ 3 อย่างด้วยกัน การสะสมของ
1.ไขมันในผนังหลอดเลือด ที่เรียกว่า plaque หรือตะกรันในหลอดเลือด คล้ายกับการเกิดสนิมในท่อประปา
2.การเกิดปริแยกหรือฉีกขาดของ plaque ซึ่งจะทำให้ไขมันที่สะสมในตะกรัน รวมถึงสารต่างๆออกมาสัมผัสกับเลือดในหลอดเลือด กระตุ้นให้เกิดกระบวนการที่ 3 ต่อไป
3.การเกิดลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือด หรือ Thrombosis ซึ่งตัวลิ่มเลือดอาจอุดตันจนสนิท จนทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมใส่ใจดูแลสี่ห้องหัวใจของเราให้ดีอย่าให้ใครหรือแม้แต่กระทั่งตัวของเราเองมาทำร้ายได้ง่ายๆเชียวนะคะ