สิ่งที่เราทำอยู๋ประจำทุกวันคือเวลาที่เราจะไปไหนมาไหนเราก็จะเดิน หรือถ้ารีบมากๆ ก็อาจจะวิ่งเลยก็ได้ แล้วเราเคยรู้มั้ยคะว่าร่างกายเราทำยังไงถึงทำให้เราเคลื่อนไหวในลักษณะนั้นได้
การที่มนุษย์เราสามารถเดินและวิ่งได้ดีกว่าหุ่นยนต์ ก็เนื่องมาจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยระบบประสาทนั้นประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ระบบประสาทรับความรู้สึกและระบบประสาทสั่งงาน สำรับระบบประสาทรับความรู้สึกนั้น ยังแบ่งเป็น 3 ส่วน ระบบการรับรู้ภาพ ระบบการควบคุมการทรงตัว และระบบรับความรู้สึกของข้อต่อ ซึ่งการทำงานร่วมกันนั้นมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพื่อให้การเดินเป็นไปตามที่ต้องการ ส่วนประสาทสั่งงานนั้น ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆที่ใช้ในการเดิน ในขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อจำเป็นที่จะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับน้ำหนักตัวและออกแรงให้เกิดการเดินที่เหมาะสม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าจะมีการเดินที่ไม่คล่องแคล่วและมั่นคงเช่นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มากกว่า การเดินซึ่งอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนนั้น สามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานที่ซับซ้อนของแต่ละส่วนได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ในขณะที่เราเดินในที่มืดนั้น ระบบการรับภาพผ่านดวงตา ของเราไม่สามารถให้ข้อมูลกับผู้เดินได้ว่า ทางที่เดินนั้นมีพื้นผิวเป็นอย่างไร ขึ้นเนิน ลงเนิน คดเคี้ยวอย่างไร มีสิ่งกีดขวางทางเดินหรือไม่อย่างไร แม้ว่าร่างกายคนนั้นจะมีร่างกายที่ปกติก็อาจหกล้มไลงได้ ส่วนในผู้สูงอายุที่มีส่วนควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่ในหูชั้นในนั้นเสื่อมลง จะทำให้การเดินไม่คล่องแคล่วเช่นในคนวัยหนุ่มสาว และหากส่วนการรับรู้ของข้อต่อทำงานบกพร่อง เช่น อาจเกิดจากการที่เคยบาดเจ็บข้อเท้ามาก่อน จะทำให้ล้มได้ง่ายเมื่อเดินบนพื้นที่ไม่ราบเรียบแม้ว่าระบบประสาทรับรู้จะทำงานได้ปกติ ยิ่งไปกว่านั้น การเดินที่ปกติยังต้องอาศัยระบบประสาทสั่งงานและกล้ามเนื้อที่ทำงานได้ปกติอีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ ร่างกายของเรายังปรับเปลี่ยนการเดินและการวิ่งไปมาได้อย่างเหมาะสม สมมุติว่าท่านก็จะเปลี่ยน