เทคนิคการจำ

เทคนิคการจำ

   คุณรู้หรือไม่ว่าวันหนึ่งเราจำอะไรบ้างในแต่ละวัน เช่น เพื่อน อาจารย์ ตารางเรียน  นิสัยของเพื่อนแต่ละคนวันเกิดของเพื่อนของพ่อแม่กิจกรรมต่างๆในแต่ละวันเราต้องจำอะไรบ้างแล้วเราจำสิ่งพวกนี้ได้แต่กับตำราเรียนลืมได้ลืมเอามาดูดีว่าค่ะว่าเรามีเทคนิคการจำและวิธีอ่านหนังสือให้จำอย่างไรบ้าง

การจำ วิธีการทำให้จำ
การจำ วิธีการทำให้จำ

วิธีอ่านหนังสือให้จำ

1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว

2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ! แล้ว ลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้


3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง


4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป


5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์


7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ

 

8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้


>>ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง

 

>>ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ

 

อาหาร 9 ชนิดในชีวิตประจำวัน ที่ช่วยเพิ่มความจำให้กับสมอง

 

1.น้ำสลัดที่เหมือนน้ำมัน

เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี และอุดมไปด้วยวิตามินอี ช่วยปกป้องเซลล์ประสาท และปกป้องในส่วนของเซลล์ประสาทที่เริ่มจะตาย รวมทั้งโรคอัลไซเมอร์

 

2.ปลา 

ปลาต่างทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ปลาทู หรือปลาอื่นๆ ถือว่าอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และมี DHA ซึ่ง DHAมีส่วนสำคัญมากสำหรับการทำงานปกติของเซลล์ประสาท และจะทำให้เส้นเลือดไม่อุดตันอีกด้วย

 

3.ผักใบเขียว

ผักคะน้าผัก,ผักขม, และบร็อกโคลี่ เป็นถือแหล่งที่ดีของวิตามินอีและโฟเลต แม้ว่ายังไม่ชัดเจนในเรื่องที่โฟเลตป้องกันสมองได้หรือเปล่านั้น แต่มันอาจจะช่วยโดยการลดระดับของกรดอะมิโน homocysteine ในเลือดที่จะทำให้เสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ เพราะหากมี homocysteine มากนั้นอาจทำให้เซลล์ปราสาทตาย และกรดโฟลิกก็ยังช่วยในการลดระดับ homocysteine อีกด้วย

 

4.อะโวคาโด 

เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระวิตามินอี ซึ่งจากการวิจัยพบว่า อาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินอี ซึ่งรวมไปถึง อะโวคาโด จะสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระได้และลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์

 

5.เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดพันธุ์พืชรวมทั้งเมล็ดทานตะวัน ถือเป็นแหล่งรวมที่ดีของวิตามิน อี และถ้าหากนำเมล็ดคั่วทานตะวัน มาปรับโรยบนสลัดนั่นจะเป็นส่วนที่ช่วยในการบำรุงสมองของคุณ

 

6.ถั่วลิสง และ เนย ถั่วลิสง

แม้ทั้งสองสิ่งนี้จะทำให้มีความเสี่ยงในการอ้วนสูง แต่ทว่าทั้ง ในถั่วลิสงไขมันและเนยถั่วลิสงมักจะเป็นไขมันที่นำมาซึ่งการมีสุขภาพดี นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยวิตามินอี โดยทั้งสองที่กล่าวมานี้อาจช่วยให้หัวใจและสมองแข็งแรงและทำงานได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังมีทางเลือกที่ดีอื่นอีก เช่น อัลมอนด์ และ ฮาเซลนัทส์

 

7.ไวน์แดง

จากผลการวิจัย ผู้ที่ดื่มจำนวนไวน์แดงปานกลางและและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่น ๆ อาจมีความเสี่ยงที่ลดลงสำหรับโรคอัลไซเมอร์ แต่สำหรับจำพวกคนขี้เมาแล้วนี่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมในการพัฒนาของพวกเขา

 

8.เบอร์รี่ 

พบว่าบลูเบอร์รี่, สตรอเบอร์รี่และผลเบอร์รี่ ช่วยถนอมอายุสมอง เสมือนทำหน้าที่เป็นแม่บ้านที่คอยเก็บกวาดนั่นเอง

 

9.เมล็ดธัญพืช

อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และถือเป็นอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน แสดงให้เห็นว่าอาหารนี้ช่วยลดความเสี่ยง และความบกพร่องในกระบวนการคิด ซึ่งมันเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ นอกจากนั้น เมล็ดธัญพืช จะลดการอักเสบในเรื่องความเครียด รวมทั้ง ปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดเช่นความดันโลหิตสูงซึ่งทั้งหมดนี้อาจมีผลต่อสมอง และ โรคหัวใจ

 

>>อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลยละค่ะแถมยังจำได้มากขึ้นและยังได้รู้จักอาหารสมองอีกด้วย<<

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *