ไฟดับ ไฟตัด จากปัญหากระแสไฟฟ้าลัดวงจร หนึ่งในสิ่งกวนใจที่ใครหลายบ้านก็ต้องเจอ ยิ่งกับมือใหม่หัดซ่อมไฟด้วยแล้วยิ่งกลายเป็นปัญหาหนักใจ เพราะเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านหากไม่ใช่คนที่พอจะเชี่ยวชาญอยู่บ้าง ก็อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่จัดการได้ลำบาก
วันนี้ไปเราจะพาไปรู้จักกลไฟของปัญหาไฟฟ้าที่มีมากกว่าสับเบรกเกอร์ไปมา หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการตัดวงจรไฟอย่าง ‘เบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB)’ มาดูกันดีกว่า ว่าเจ้าสิ่งนี้มีหน้าที่อะไรในระบบไฟฟ้าของบ้านคุณกันแน่
ลูกเซอร์กิต หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย (MBC)
อะไรคือลูกเซอร์กิต หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย (MBC)? สิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่นิยมติดตั้งเพื่อใช้งานในที่พักอาศัย และอาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 A มีขนาดตั้งแต่ 1, 2, 3 และ 4 Polr โดยทั่วไปจะใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 และ 3 เฟส ซึ่งเบรกเกอร์ลูกย่อย (MBC) ก็มีบทบาทเป็นอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่ต้องใช้งานร่วมกับแผงจ่ายไฟย่อย (Load center) หรื ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer unit) สำหรับที่พักอาศัย โดยหน้าที่หลักของเบรกเกอร์แบบ MBC จะคอยเป็นตัวป้องกันการไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน และส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกการปลดวงจรในรูปแบบ Thermal และ Magnetic ในส่วนของการติดตั้งจะสามารถทำได้อยู่ 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ติดตั้งจุดป้องกันเมนเบรกเกอร์ และวงจรย่อย ซึ่งกระแสไฟฟ้าของวงจรย่อยจะขึ้นอยู่กับแต่ละจุดที่ใช้งาน เช่น งานโหลดเต้ารับ งานโหลดเครื่องทำความ งานโหลดเครื่องทำน้ำอุ่น หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
เบรกเกอร์ประเภทอื่นที่นิยมใช้งาน
นอกเหนือจากเบรกเกอร์แบบ MBC ยังเบรกเกอร์อีกหลายหลายประเภทที่ถูกติดตั้งและใช้งานร่วมในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า โดยเบรกเกอร์แต่ละชนิดก็เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต่างสถานที่ ต่างจุดประสงค์ และมีการรองรับกำลังกระแสไฟที่ต่างกันออกไป ซึ่งจุดประสงค์ในการติดตั้งก็เพื่อเพิ่มความเซฟตี้ด้านไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง
- RCDs (Residual Current Devices)
อุปกรณ์เซฟตี้ที่ทำหน้าที่ช่วยตัดหรือป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ซึ่งอุปกรณ์ประเภทนี้จะแบ่งได้ 3 ประเภทตามการใช้งาน ได้แก่ RCBO (ป้องกันไฟดูดช็อต), RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส) โดยจะติดตั้งอยู่ในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer unit) และตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
- MCCB (Moulded Case Circuit Breakers)
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า ตลอดจนใช้ในการตัดกระแสไฟ ในกรณีที่เกิดไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจร โดยทั่วไปจะติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเบรกเกอร์ชนิดนี้จะใช้งานได้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 – 2,300 A ขึ้นไป นอกจากนี้ MCCB ยังมีคุณสมบัติทนทานกับกระแสลัดวงจร (kA) ได้สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) แต่น้อยกว่าเบรกเกอร์ประเภท ACB