โรคบิดเกิดจากอะไร

                             โรคบิด(Dysentery) โรคบิดเกิดจากอะไร? โรคบิดเป็นอาการของโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร อาการของโรคคือ ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ร่วมกับอาการ ปวดเบ่งที่ทวารหนักเหมือนกับถ่ายไม่สุด ปวดบิด เบ่งเมื่อถ่ายอุจาระ และมักมีอาการเป็นไข้และถ่ายเป็นน้ำ อาการคล้ายๆอาหารเป็นพิษ และอาจมีภาวะขาดน้ำรุนแรงตามมา

ปวดท้องโรคบิด
ปวดท้องโรคบิด

สาเหตุของการเกิดโรคคือ  เกิดจากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และสัตว์เซลเดียว ปรสิต หรือเกิดจากการอักเสบของ ลำใส้ใหญ่

โรคบิดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 

บิดมีตัว(บิดอะมีบิด Amebic Dy Sentery or Amebicsis)

บิดไม่มีตัว(บิดแบบซิลลาซี Bacillary Dy Sentery or shigellois)

โรคบิดสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็สามารถพบโรคชนิดนี้ได้เช่นกัน

อาการที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรค

โรคบิดอะมีบิด ผู้ป่วยมักจะมีอาการได้รับเชื้อในระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 7-10 วัน อาการของโรคจะมีอยู่ประมาณ 3-4 วัน หรือเป็นติดต่อกันหลายๆสัปดาห์ และผู้ป่วยจะไม่รู้สึกสบายท้อง ปวดบิด และถ่ายอุจาระเหลว และอุจาระมีกลิ่นคล้ายๆอาหารบูดเน่าหรือเหม็นคล้ายๆหัวกุ้งเน่า และหากผู้ป่วยบางคนที่มีภูมิต้านทานโรคน้อย อาจจะมีไข้ขึ้นสูง รวมถึงการถ่ายเป็นมูกเลือด ในการรักษาโรคหากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องเชื้ออะมีบาจะตายไม่หมด อาการจะไม่หายขาด และอาจเป็นไปเรื่อยๆอาการก็จะเรื้อรังและเป็นผลที่เกิดจากบิดชนิดเฉียบพลันและอาจมีอาการโรคแทรกซ้อน  ลำใส้ใหญ่จะเกิดการทะลุและเป็นแผลอาจจะเกิดฝีที่ตับ เพราะเชื้ออะมีบาจะเข้าในกระแสเลือด ทำให้ตับเกิดการอักเสบและเป็นฝีได้และฝีอาจจะแตกทะลุไปยังปอดทำให้เป็นฝีที่ปอดเพิ่มอีกด้วย

โรคบิดซิเกลลา  ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ 1-7 วัน ในระยะฟักตัวของโรค และหลังจากได้รับการรักษา อาการจะอยู่ได้ประมาณ 3-10 วันและหากผู้ป่วยได้รับเชื้อมาไม่มาก และผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่แข็งแรง อาการอาจจะหายได้เอง ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูงบวกกับอาการท้องเสียเป็นน้ำ ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นอาการท้องเสียจะค่อยๆลดลง แต่ถ้ายังถ่ายอยู่บ่อยๆอุจาระจะมีมูกเลือดด้วย และจะมีอาการปวดท้องและปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจาระ และมีอาการคลื่นใส้อาเจียนร่วมด้วย เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำใส้ จะทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการถ่ายเหลวเป็นมูกเลือดและจะมีอาการปวดบิดแต่ไม่มาก และในกรณีที่มีอาการน้อย แต่หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมาเยอะ และจะมีอาการคือปวดท้องบิดอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาจจะถ่ายมีมูกเลือดและมีหนองปนพร้อมกับอาเจียนด้วย แต่ถ่ายน้อยแต่จะบ่อยมาก และหากร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอ อาจจะมีอาการช็อคได้ และผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจะได้รับเชื้อโรค เข้าไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ อาจช็อคจนเสียชีวิตได้ และทำให้ลำใส้ใหญ่เกิดการอักเสบและร่างกายเกิดภาวะการขาดน้ำอย่างรุนแรง และบางรายอาจจะช็อคจนเสียชีวิตได้

โดยทั่วไปโรคบิดหากได้รับเชื้อมาไม่มากนัก แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยโรคบิดซิเกลลา และให้ยาฆ่าเชื้ออมีบาในผู้ป่วยโรคบิดอมีบา และให้ยาอื่นๆตามอาการของโรค ผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่เป็นโรคบิดคือ จะเกิดภาวะขาดน้ำในกรณีที่ท้องเสียมากๆ ภาวะซีดและเป็นฝี ในอวัยวะต่างๆ เช่นฝีในตับที่เกิดจากการติดเชื้ออะมีบา เป็นต้น

โรคบิดเกิดขึ้นได้อย่างไร  โรคบิดเป็นโรคติดต่อทางการกิน ดื่ม อาหาร น้ำ ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะอยู่อุจาระของผู้ป่วย หรืออยู่ในอุจาระของคนที่มีพาหะเป็นโรค และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผ่านเข้าสู่ลำใส้ และก่อให้เกิดการอักเสบของผนังลำใส้ โดยเฉพาะลำใส้ใหญ่ จากนั้นผนังลำใส้ใหญ่จะเกิดการอักเสบและมีอาการบวม ดูดซึมน้ำและอาหารได้น้อย และเชื้อยังอาจสร้างสารกระตุ้นให้น้ำในร่างกายซึมเข้าสู่ลำใส้ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย และอาจท้องเสียลักษณะเป็นมูก หากเกิดการอักเสบจะทำให้ลำใส้ใหญ่เกิดแผลร่วมด้วยจึงทำให้มีเลือดปนออกมากับอุจาระน่นเอง

การป้องกันโรคในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันโรคบิดทั้งสองชนิด จึงควรดูแลสุขภาพอนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำก็ควรจะล้างมือด้วยเช่นกัน รักษาความสะอาดในการปรุงอาหารร่วมด้วยกับการดูและอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวให้สะอาดอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่หรือควรนำอาหารมาอุ่นให้ร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน ผักและผลไม้ควรจะปอกเปลือกและสร้างให้สะอาดก่อนบริโภค

และที่สำคัญหากได้รับเชื้อ ควรดูแลตนเองทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น วันละ 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *