เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคลมชัก

อาการชัก คือ ภาวะที่สมองทำงานมากผิดปกติชั่วขณะและมีแนวโน้มที่จะเป็นซ้ำได้บ่อยๆ อาการแสดงขณะชักนั้นขึ้นอยู่กับว่าบริเวณของสมองที่มีการทำงานมากผิดปกตินั้น รับผิดชอบต่อการทำงานอะไร เช่น การเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ การเห็นภาพผิดปกติ การได้กลิ่นผิดปกติ การหยุดตอบสนองและมีตาเหมื่อลอยชั่วขณะ การเคลื่อนไหวผิดปกติที่อาจเป็นอยู่ชั่วครู่  ส่วนใหญ่อาการชักจะเกิดขึ้นชั่วขณะ หลังจากการชักบางครั้งผู้ช่วยอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือสติสัมปชัญญะเสียำปชั่วขณะก็ได้

โรคลมชัก Epilepsy คือ โรคที่ทำให้ผู้ป้วยมีอาการชักเป็นอยู่ช้ำแล้วซ้ำอีกมากเกินกว่าสองครั้งขึ้นไป ซึ่งอาจจะมีสาเหตุที่สามารถตรวจพบได้ หรืออาจจะหาสาเหตุไม่พบก็ได้ โดยทั่วไปประชากร 100 คน จะพบโรคนี้ประมาณ 1-2 คน แต่ถ้าดูเฉพาะผู้ป่วยวัยเด็ก 14 คน จะมีอย่างน้อย 1 คนที่เคยมีอาการชักอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต

โรคลมชักรักษาได้หรือไม่

โรคลมชักหากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และถูกต้อง โรคลมชักในเด็กบางรายสามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้อัตราส่วนของผู้ป่วยโรคลมชักในผู้ใหญ่ลดลงเมื่อเมียบกับในเด็ก การรักษาโรคลมชัก เป็นการป้องกันไม่ให้มีอาการชักซ้ำ พบว่าหากปล่อยให้ผู้ป่วยมีอาการชักบ่อยครั้ง สมองของผู้ป่วยก้จะมีการเปลี่ยแปลง เปรียบเสมือนฝึกหัดท่องจำวิธีการชัก หากปล่อยให้ชักบ่อยโอกาสหานจากอาการชักก้จะน้อย ดังนั้นจุประสงคืที่สำคัญของการรักษาคือ ป้องกันไม่ให้มีอาการชักบ่อยๆ

หากผู้ป่วยไม่ได้ชักอยู่เป็นระยะเวลานานพอสมควร โอกาสหายขาดก็สุง ดังนั้นหลักในการรักษา คือการให้กินยาชักอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานพอสมควรที่คนไข้จะไม่มีอาการชักซ้ำอีกตามการวิเคาระห์ของแพทย์

โรคลมชักมีกี่แบบ

มีหลายแบบ ตามแต่บริเวณของสมองที่มีการทำงานผิดปกติขณะชัก เราสามารถแบ่งเป็นชนิดชักทั้งสมอง (Generalized Seizure) และชักเฉพาะบางส่วนของสมอง ( Partial Seizure) นอกจากนี้ยังแบ่งคร่าวๆ เป้นชักแบบแอบแฝง เช่น ชักแบบตาเหม่อลอย (Petit mal)

โรคลมชักกับอาการปัญญาอ่อน

โดยทั่วไปแล้ว โรคลมชักไม่ได้ทำให้เกิดภาวะปัญยาอ่อนหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการชักบ่อย จะทำให้การทำงานของสมอง โดยเฉพาะในส่วนขบวนความจำบกพร่องได้ ดังนั้น จึงควรได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และรักษาอย่างถูกต้อง

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคลมชัก

การดูว่าคนคนนั้นเป้นโรคลงชักหรือไม่ อาศัยจากการสังเกตอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ชั่วขณะ ร่วมกับการตรวจพิเศษอย่างแน่นอน ในบางรายอาจต้องตรวจคลื่นสมอง ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างแน่นอน ในบางราย อาจต้องถ่ายภาพสมอง หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของแพทย์

สิ่งที่ควรทำในการรักษาโรคลมชัก

  1. ควรรับประทานยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควรรับประทานยากันชักตามเวลาที่แพทย์แนะนำ
  3. คอยสังเกตอาการข้างเคียงของยากันชักถ้ามีตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบว่ามีอาการข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจ หยุดยาเอง เพราะบางกรณีหากหยุดยาเอง อาจทำให้เกิดอาการชักเพราะขาดยาได้
  4. จดบันทึกลักษณะอาการชักทุกครั้งที่มี ตลอดจนวันเวลาที่มีอาการชัก เพื่อเป็นประโยชนืต่อแพทย์ผู้รักษาในการปรับขนาดของยา หรือช่วงเวลาที่จะให้ยากันชักแก่ผู้ป่วย
  5. ควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ ที่อาจเสี่ยงต่อการชักซ้ำสูง เช่น การอดนอน การออกกำลังกายหักโหมมากจนพักผ่แนไม่เพียงพอ การขาดยากันชัก และ การอดอาหาร เป้นต้น

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีผู้ป่วยมีอาการชัก

  1. อย่าตกใจ
  2. จัยผู้ป่วยนอนตะแคงบนพื้นราบที่ไม่มีของแข้ง ที่อาจจะกระแทกตัวผู้ป่วยให้เกิดอันตรายได้
  3. ควรหาลูกสูบยางแดงคอยดูน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  4. ไม่ควรพยายามเอาช้อนหรือไม้กดบิ้นฟันสำลีงัดปากผู้ป่วยขณะกำลังชักอยู่เพราะอาจทำให้ฟันหักหรือหลุด เศษฟันอาจพลัดตกลงไปอุดหลอดลม ทำให้หายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้โอกาศที่ผู้ป่วยจะจกัดลิ้นจนลิ้นขาดขณะชักนั้นไม่มี แต่โอกาศที่ลิ้นจะถูกช้อน หรือไม้กดดันลิ้นไปทำให้เกิดความชอกช้ำมากขึ้น ขณะที่พยายามงัดปากผู้ป่วยซึ่งกำลังชักอยู่มีสูงมาก บางครั้งบาดแผลที่ลิ้นที่เกิดจาการพยายามงัดปากผู้ป่วยขณะชัก อาจทำให้เสียเลือดมากและลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นอาจอุดตันหลอดลมได้
  5. ไม่ควรจับยึดตัวผู้ป่วยขณะชัก หรือพยายามยึดฝืนต่ออาการชักเพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น หัวไหล่หลุด กระดูกแขนขาหักได้ เป็นต้น
  6. ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักอยู่นานจนหยุดหายใจและริมฝีปากขียวควรทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปาก ให้เอาปากประกบปากและเป่าปากช่วยหายใจภายหลังจากได้ทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว
  7. โดยส่วนใหญ่อาการชักที่เกิดขึ้น ถ้าไม่นานเกิน 15 นาที โอกาศที่จะก่อให้เกิดอันตรายถาวรร้ายแรงต่อสมองมีน้อยมาก แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่เป้นอยู่นานหรือชักถี่มาก และหลังชักแต่ละครั้งภาวะรู้สติไม่กลับคือเป้นปกติ ควรรีบพาไปพยแพทย์ หากผู้ป่วยมีอาการชักเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และหยุดชักเอง และฟื้นสติกลับมาเผ็นผกติเร็ว ท่านอาจจะมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทได้ในภายหลัง

 

 

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *