หนึ่งในโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับต้นๆ ก็คือโรคหัวใจ ซึ่งแนวทางการรักษาในตอนนี้ก็เป็นไปตามเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการ ‘สวนหัวใจ’ หรือ Cardiac Catheter คือ หนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถเป็นได้ทั้งการตรวจและการรักษา ความหมายเข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือการใส่สายยางสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อใช้ในการวัดความดันโลหิตของหัวใจในแต่ละห้อง ซึ่งหลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าการทำ Cardiac Catheter คือการฉีดสี
อย่างไรก็ตามการตรวจหรือการรักษาด้วยการทำ Cardiac Catheter นั้นเป็นกระบวนการที่คนไข้จะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 40-60 นาที ตามแต่ความหนักเบาของเคส แต่นอกเหนือจากความหมายโดยคร่าวๆ ของการใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว จะมีข้อแนะนำอื่นๆ อีกหรือไม่ที่คนไข้หรือผู้ที่สนใจควรทราบ บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาฝาก
การสวนหลอดเลือดหัวใจทำได้อย่างไร?
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำผ่านช่องทางไหนได้บ้างคำตอบก็คือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจจะทำการสวนหลอดหัวใจผ่านได้ทั้งหมด 2 จุดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสวนหลอดเลือดหัวใจเข้าที่บริเวณขาหนีบ ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องกรีดเนื้อให้มีแผลแล้วต้องเย็บ ตลอดไปจนถึงการสวนหลอดเลือดหัวใจเข้าที่บริเวณข้อมือ สำหรับวิธีนี้จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 4-8 ชั่วโมง หลังทำเสร็จจำเป็นต้องใช้สายรัดข้อมือเพื่อห้ามเลือดก่อนในช่วงแรก แต่จะแตกต่างจากวิธีการสงวนหลอดเลือดหัวใจผ่านบริเวณขาหนีบคือวิธีนี้สามารถลุกยืนได้ทันที
วิธีปฏิบัติตัวหลังสวนหลอดเลือดหัวใจเสร็จ
หลังจากที่คนไข้ทำการสวนหลอดเลือดหัวใจเสร็จ ต่อไปคือเรื่องของการดูแลและข้อปฏิบัติต่างๆ ที่แนะนำคือการพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจอย่างน้อยๆ 6-8 ชั่วโมง หากเลือกสวนหลอดเลือดหัวใจที่บริเวณข้อมือแล้วพบว่ามีอาการชา ซีด หรือเย็นบริเวณแผล ให้รีบแจ้งแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์โดยด่วน นอกจากนี้หลังจากที่ทำการสวนหลอดเลือดหัวใจแล้วไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนก็สามารถรับประทานอาหารได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดแผลแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดแล้วพักฟื้น อาการก็จะค่อยๆ ทุเลาลง
ข้อดีและประโยชน์ของการทำ Cardiac Catheter คืออะไร
กล่าวง่ายๆ ก็คือการสวนหลอดเลือดหัวใจนั้นมีข้อดีและประโยชน์ก็ตรงที่เข้าไปช่วยดันไขมันต่างๆ ที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดหัวใจให้ไหลผ่านได้อย่างสะดวก จากเดิมที่เคยตีบตัน หลังจากทำ Cardiac Catheter ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกโล่งบริเวณหน้าอก หายใจได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งถ้าหากเลือกการตรวจหรือรักษาด้วยวิธีการสวนหลอดเลือดหัวใจก็จะช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการที่ไขมันเข้าไปอุดตันได้เช่นเดียวกัน
ในท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าผู้ป่วยจะเลือกการตรวจหรือรักษาด้วยการทำ Cardiac Catheter คือการทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรก งดการยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัมนาน 1 เดือน จนกว่าอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นถึงจะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ