ตัวร้อยขา หรือ ตัวสงกรานต์ คืออะไรกันแน่ มาดูกัน!!

เป็นข่าวตกอกตกใจและเป็นเรื่องที่กำลังแชร์กันว่อนในโลกออนไลน์ตอนนี้ เกี่ยวกับการพบตัวร้อยขาสายพันธุ์ใหม่ที่ลำตัวเป็นสีน้ำเงิน แต่คงจะน่าตกใจมากไปกว่านั้น เพราะแหล่งที่ชาวบ้านพบนั้น พบว่ามันไหลออกมาจากก๊อกน้ำประปาที่บ้าน !!
ฟังแล้วก็น่าขนลุกไม่เบาเลยนะคะ ทีมงานจันทร์ไทยของเราเลยไปหาสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ว่าแท้ที่จริงแล้ว ตัวร้อยขามันคืออะไร เกิดมาได้อย่างไร และเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างไร

ตัวร้อยขา สีน้ำเงิน
ตัวร้อยขา สีน้ำเงิน

ตัวร้อยขา หรือ ตัวสงกรานต์ เป็นสัตว์จำพวกหนอนลำตัวมีปล้อง เหมือนกับปลิง ทางวิทยาศาสตร์จัดอยู่ใน Phylum : Annelida,Class : Polychaeta มีหลายชนิด เท่าที่พบในขณะนี้ มี 2 Family ได้แก่
– Sylidae พบที่ฉะเชิงเทรา
– Nereidae พบในกรุงเทพมหานคร
จะมีขนาดแตกต่างกันไป ตัวแก่จะมีขาตามปล้องสำหรับเคลื่อนไหวในน้ำ และคืบคลานในที่ชื้นแฉะหรือซอกมุมที่อับชื้น ลำตัวอาจมีความยาว ถึง 6 – 10 ซม.)

แหล่งพบ ตัวร้อยขา
แหล่งพบ ตัวร้อยขา

สถานทื่ ส่วนใหญ่จะพบในทะเล เขตน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ คลองที่เชื่อมติดกับทะเล ตัวแก่บางชนิดสามารถมีชีวิตในน้ำจืดได้จะอยู่ก้นท้องน้ำโดยปกติจะพบตัวแก่จำนวนไม่มากนักในน้ำจืด จากการพลัดหลงเข้าไป แต่ตัว 100 ขา ไม่สามารถจะแพร่พันธุ์หรือผสมพันธุ์ได้ในน้ำจืด เนื่องจากสภาพตามธรรมชาติไม่อำนวย จากหลักฐานการศึกษาไม่เคยพบตัวอ่อนในน้ำจืด

ท่อระบายน้ำ พบตัวร้อยขา
ท่อระบายน้ำ พบตัวร้อยขา

สถานที่พบในกรุงเทพมหานคร

1. พลัดหลงมาตามแม่น้ำลำคลอง ตามกระแสน้ำขึ้น – ลง และในช่วงฝนตกน้ำล้นจากคลองไปตามสนาม หญ้า โรงรถซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของบ้านแล้วคืบคลานไปหาที่เย็น ๆ เปียกชื้น จึงมักพบได้ตามตุ่มน้ำ กะละมังที่มีน้ำขังหรือบริเวณที่มีตะไคร่น้ำเกาะ
2. ตามท่อระบายน้ำซึ่งมีทางออกสู่คูคลอง ตัว 100 ขา สามารถเข้าสู่ท่อระบายน้ำทิ้งจนถึงห้องน้ำได้ แล้วซุกตัวอยู่ตามซอกมุมที่อับชื้น

3. พบอยู่ในสายยางซึ่งวางไว้กับพื้นที่มีสภาพชื้นแฉะเพราะตัว 100 ขา ไม่สามารถทนความร้อน แสงแดดหรือแสงไฟได้ และต้องอยู่ในที่มีความชื้นสูง ต้องคืบคลานเข้าหาที่ทึบแสงและที่มีความชื้นอยู่เสมอ บางครั้งจะพบตัว 100 ขา ในภาชนะที่คว่ำอยู่บนพื้นเพื่อหลบแสงแดด เมื่อหงายภาชนะใส่น้ำประปาโดยไม่สังเกตจะพบตัว 100 ขา อยู่ในภาชนะนั้นก่อนแล้ว

planktonอาหาร ตัว 100 ขา จะกินพวก plankton และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในน้ำเป็นอาหารเพราะมีเขี้ยวมันจึงสามารถจัดกินสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็นอาหารได้ด้วย ในช่วงสืบพันธุ์จะกินอาหารน้อยมากและเกือบไม่กินเลย สัตว์ประเภทนี้มีความต้องการก๊าซออกซิเจนมากใน การดำรงชีวิตจึงมีผิวหนังและขาแบนบางใสเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนในน้ำแพร่ผ่านได้ดี

การสืบพันธุ์ ตัวสงกรานต์จะอาศัยอยู่ตามผิวพื้นของทะเลเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวแก่จะมาอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้ไขซึ่งจะอยู่ส่วนปลายของลำตัวจะหลุดออกมาผสมกับน้ำเชื้อตัวอ่อนจะล่องลอยไปกับกระแสน้ำ ตัวแก่จะตายไปเมื่อมีการผสมพันธุ์กันทุกครั้งหมุนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยไป จะพบว่าในเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกซุกของทุกปีจะพบตัวสงกรานต์ได้มาก ที่สุดเนื่องจากเป็นฤดูช่วงผสมพันธุ์ของมัน

ระบบน้ำประปา
ระบบน้ำประปา

ตัว 100 ขา หรือตัวสงกรานต์ไม่สามารถอยู่ในระบบประปาได้ เนื่องจาก
1. บ่อกรองน้ำประกอบด้วยชั้นถ่านและชั้นหินเอนทราไซด์ ขนาด 0.85 มม. หนา 80 ซม. และทรายขนาด 0.6 มม. หนา 40 ซม. มีประสิทธิภาพกรองของสารหรือสิ่งมีชีวิต ขนาด 0.2 ไมครอน
(1 ไมครอน = 0.001 มม.) ได้ ไข่ของตัว 100 ขามีขนาดใหญ่ถึง 100 – 200 ไมครอน จึงไม่สามารถผ่านบ่อกรองน้ำได้อย่างแน่นอน
2. ในระบบเส้นท่อจ่ายน้ำ ถ้าตัว 100 ขา หรือไข่เกิดพลัดหลงเข้าไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้เนื่องจากคลอรีนและแรงดันในน้ำประปาทำลายโครงสร้างลำตัว และผิวหนังที่บอบบาง จากการทดลองกับตัว 100 ขา ตัวขนาด 6 ซม. ถ้ามีคลอรีนเพียง 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร จะตายภายใน 30-40 นาที (ในสภาพไม่มีแรงดันน้ำ)
– ไข่และตัวอ่อนไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ในสภาวะที่มีคลอรีน และแรงดันภายในเส้นท่อ และจากวงจรชีวิตของมัน ตัว 100 ขา ต้องใช้เวลานานถึง 20 วัน จึงเป็นตัวอ่อน

อันตรายต่อมนุษย์
จากเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ พบว่าสิ่งมีชีวิตในกลุ่มตัว 100 ขา หรือตัวสงกรานต์ไม่สร้างมลพิษและอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงเขี้ยวและลำตัวไม่ก่อให้เกิดมลพิษแต่อย่างใด ไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดผื่นคันหรือเป็นพิษใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากตัว 100 ขา เป็นสัตว์ที่เห็นแล้วน่ารังเกียจ

[ขอบคุณข้อมูลจากกรมประปา]

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *