อาหารมื้อแรกของลูกเริ่มอย่างไรดี

บ้านไหนที่มีลูกน้อยวัยกำลังจะเข้า 6 เดือน หรือน้องที่หมอประเมินให้ทานอาหารได้แล้ว แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ตามแม่มาทางนี้เลย

เชื่อว่าแม่แม่มือใหม่หลาย ๆ บ้าน ที่มีลูกน้อยวัยกำลังจะเริ่มทานอาหาร ด้วยวัยของลูกน้อยที่มีอายุครบ 6 เดือนแล้ว ทั้งแม่แม่บ้านที่คุณหมอประเมินให้น้องเริ่มทานอาหารได้ แม่คิดหนักกันอยู่ใช่ไหมคะว่าจะเริ่มยังไงดี จะทำอาหารเมนูอะไรให้น้องทานดี วันนี้แม่มี เมนูลูกรัก วัยหัดหม่ำ มาฝากแม่แม่กันค่ะ

อาหารทารกในแต่ละช่วงอายุ (แรกเกิด – 12เดือน)

แรกเกิด – 6 เดือน

ให้กินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ เพราะน้ำนมของแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอแล้ว

6 เดือนขึ้นไป

ให้นมแม่ควบคู่กับอาหารทารกตามวัย จนเด็กอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้นแล้วแต่ความสะดวกของแม่แม่แต่ละบ้าน และควรให้ทานนมแม่ 1 ปีเป็นอย่างต่ำ

  • อาหารสำหรับน้อง 6 เดือน

อาหารบดละเอียด 1 มื้อ เวลาเช้า และทานผลไม้สุก(บดละเอียด)ในมื้อว่างหรือช่วงบ่าย

  • อาหารสำหรับน้อง 7 เดือน

อาหารบดละเอียด 1 มื้อ เวลาเช้า และทานผลไม้สุด(บดละเอียด)ในมื้อว่าวหรือช่วงบ่าย

  • อาหารสำหรับน้อง 8 เดือน

อาหารสับละเอียด 2 มื้อ เวลาเช้า – เย็น  และทานผลไม้สุก(ตัดเป็นชิ้น)ในมื้อว่างเวลาใดก็ได้

  • อาหารสำหรับน้อง 9 – 12 เดือน

อาหารหั่นเป็นชิ้นเล็ก 3 มื้อ เวลาเช้า – เที่ยง – เย็น และทานผลไม้สุก(หั่นชิ้นพอดีคำ)หลังมื้ออาหารหรือในมื้อว่างเวลาใดก็ได้

ความรู้การให้อาหารเด็กเบื้องต้น
ขอบคุณภาพจากเพจ : การทำอาหารเด็กเมนู6เดือนขึ้นไป by แม่มายด์

ตัวอย่างความละเอียดอาหารของแต่ละช่วงวัย

  • วัย 6 – 7 เดือน นึ่ง ตุ๋น แล้วปั่น หรือบดละเอียด
ข้าวตุ๋นเด็ก6เดือน
ขอบคุณภาพจากเพจ : การทำอาหารเด็กเมนู6เดือนขึ้นไป by แม่มายด์
  • วัย 8 – 10 เดือน นึ่ง ตุ๋น แล้วปั่น หรือบดหยาบ
ข้าวตุ๋นเด็ก8เดือน
ขอบคุณภาพจากเพจ : การทำอาหารเด็กเมนู6เดือนขึ้นไป by แม่มายด์
  • วัย 11 เดือนขึ้นไป หยิบทานเป็นชิ้นไม่บดอาหาร
ข้าวเด็ก11เดือนขึ้นไป
ขอบคุณภาพจากเพจ : การทำอาหารเด็กเมนู6เดือนขึ้นไป by แม่มายด์

คำแนะนำในการจัดอาหารให้ลูกน้อย

1.ทารกอายุ 6 เดือน สำหรับบ้านที่ พ่อ แม่ มีประวัติแพ้อาหาร ให้เริ่มอาหารทีละอย่าง ครั้งละ 1-2 ช้อนชา และเว้นระยะ 2-3วัน ก่อนเริ่มอาหารชนิดใหม่ เพื่อดูการยอมรับอาหารและดูอาการแพ้อาหาร สำหรับบ้านที่ไม่มีประวัติแพ้อาหาร สามารถเริ่มอาหารทีละหลายอย่างได้ และควรจดบันทึกไว้ด้วยว่าอาหารที่ทำให้น้องทานประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง เผื่อน้องมีอาการแพ้จะได้หาสาเหตุได้

2.ความหยาบของอาหาร เริ่มจากการบดละเอียด ค่อย ๆ เพิ่มความหยาบขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพื่อฝึกการเคี้ยวและกลืนอาหาร

3.เพิ่มประมาณอาหารให้ได้ประมาณตามที่แนะนำ โดยจำนวนมื้ออาหารที่น้องอายุ 6-7 เดือน อาจแบ่งกิน 2-3 มื้อ เพื่อให้ได้ปริมาณรวมตามที่แนะนำ

4.จัดอาหารแต่ละกลุ่มให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอและสร้างความคุ้นเคย

5.ในแต่ละมื้อ ควรมีกลุ่มเนื้อสัตว์ และผักที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง

6.ควรให้ได้ตับอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 มื้อ

7.เมื่อเด็กกินอาหารวันละ 3 มื้อ ควรให้กินไข่วันละไม่เกิน 1 มื้อ ส่วนอีก 2 มื้อ ให้เป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ

8.งดปรุงรส ควรให้เด็กเรียนรู้รสอาหารตามธรรมชาติ

9.เน้นความสะอาดและปลอดภัยของวัตถุดิบ และภาชนะที่ใช้ปรุงและใส่อาหาร

10.ติดตามการเจริญเติบโตทั้งน้ำหนัก และส่วนสูงของน้องทุก 3 เดือน

ไอเดียเมนูอาหารสำหรับน้องแรกเกิด – 12 เดือน

*น้อง 6 เดือน ให้ทานไข่แดงสุกครึ่งฟอง 7 เดือนขึ้นไปทานไข่สุกครึ่งฟอง หากกลัวน้องแพ้ ให้ทานแต่ไข่แดงก่อน ไข่ขาวเริ่มทานหลังจาก 1 ปีขึ้นไปได้จ้า อาหารในมื้อแรกของการเริ่มทานอาหาร อาจจะให้เป็นข้าวจ้าวตุ๋นบดละเอียดราดด้วยนมแม่ให้กระเพาะคุ้นชินกับการย่อยอาหารก่อน แล้วค่อยเริ่มเป็นข้าวตุ๋น+ผัก แล้วค่อยเพิ่มเป็นข้าวตุ๋น+ผัก+เนื้อสัตว์ได้ค่ะ

เมนูอาหารมื้อแรก

ข้าวตุ๋นราดนมแม่
ขอบคุณภาพจากเพจ : การทำอาหารเด็กเมนู6เดือนขึ้นไป by แม่มายด์

เมนูน้องเริ่มทานอาหาร

เมนูลูกน้อย
เมนูลูกน้อย
เมนูลูกน้อย
เมนูลูกน้อย
เมนูลูกน้อย
เมนูลูกน้อย

เมนูข้าวตุ๋นผักรวมเนื้อสัตว์

เมนูวัยหัดหม่ำ
เมนูวัยหัดหม่ำ
เมนูวัยหัดหม่ำ
เมนูวัยหัดหม่ำ
เมนูวัยหัดหม่ำ
เมนูวัยหัดหม่ำ

ฝากติดตามสาระน่ารู้ใหม่ ๆ หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ที่แฟนเพจ JP Family’s ของแม่ได้นะคะแม่แม่ เป็นกำลังใจให้แม่ด้วยน๊า และอย่าลืมแวะมาเอ็นดูวต้าวธีร์กันนะคับ

อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *