โรคเชื้อราที่เล็บ

โรคเชื้อราที่เล็บ

โรคนี้มักพบได้ในคนที่มีอาชีพที่มือต้องเปียกชื้นตลอดเวลา เช่น พนักงานล้างจาน แม่ค้าปอกผลไม้สด สาเหตุเกิดจากเชื้อราได้ไปเกาะที่เล็บ ลักษณะของเล็บที่เป็นเชื้อราจากเคยเรียบนวลจะเปลี่ยนไปกลายเป็นเล็บหนาขึ้น ผิวเล็บมีรอยขรุขระ ใต้ฐานเล็บหนาขึ้น ถ้าเป็นมากๆ เล็บมักจะเปลี่ยนรูปร่างบิดเบี้ยว ไม่ได้รูปทรงเดิมเล็บโค้งงอ มีรอยหยักเป็นลูกคลื่น ส่วนสีชมพูของเล็บปกติเมื่อติดเขื้อจะเปลี่ยนสีไป มีสีคล้ำ น้ำตาล หรือเขียวคล้ำ เชื้อราที่เล็บมักไม่มีอาการคันแต่อย่างใด แต่อาจมีการเจ็บหรือคันบ้าง แต่น้อยมาก หากพบปัญหาเหล่านี้ควรรีบมาขอการรักษา อย่าอายและกังวลใจ โรคเชื้อราที่เล็บนี้ เป็นโรคที่รักษาได้ค่อนข้างหายช้าและเรื้อรัง

ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เอดส์ จะมีเชื้อราที่เล็บได้ง่าย ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมการติดเชื้อ ได้แก่ ความชรา เบาหวาน และ ภาวะการไหลเวียนเลือดต่ำ การติดเชื้อพบที่เล็บเท้าได้บ่อยกว่าเล็บมือ เพราะที่เล็บเท้ามีความอับชื้นสูง

ยาที่ใช้รักษาเชื้อราที่เล็บ

  1. กิริซซิโอฟัลลิน (Griscofulvin) ขนาดรักษา 500-1000 มิลลิกรัมต่อวัน นานอย่างต่ำ 3 เดือนสำหรับเล้บมือ และ 6 เดือน สำหรับเล็บเท้า ผลการรักษาปานกลาง และมีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง
  2. คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เป็นยาที่ใช้รักษาเมื่อมีการดื้อยาต่อกริซซิโอฟัลวิน ยานี้จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่ากริซซิโอฟัลวิน แต่มีผลเสียต่อตับ ดังนั้นก่อนและระหว่างการรักษาควรตรวจตับเป็นช่วงๆ ขนาดการรักษา 200-400 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทานพร้อมอาหาร นาน 8-10 เดือน หรือจนกระทั่งเล็บปกติ
  3. ไซโคลไพร๊อกโอลามีน (Ciclopirox Olamine) มักพบในรูปของยาน้ำหยอดเล็บ โดยในช่วงแรกให้ทาบ่อยคือ ทุกวันหรือวันเว้นวัน หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดความถี่ของการทายาลงจนเหลือสัปดาห์ละครั้ง ใช้เวลาในการรักษานาน 3-6 เดือน
  4. เทอปินาฟิล (Terbinafine) ขนาดรับประทาน 250 มิลลิกรัมต่อวัน อาจแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์สำหรับเล็บมือ และ 12 สัปดาห์สำหรับเล็บเท้า ให้ผลการรักษาดีกว่า กริซซิโอฟัลวิน และมีอัตราการเป็นโรคซ้ำต่ำกว่า
  5. ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) ขนาดรักษา 200 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 6 สัปดาห์สำหรับเล็บมือ และ 12 สัปดาห์สำหรับเล็บเท้า ให้ผลการรักษาดีกว่ากริซซิโอฟัลวิน มีอัตราการเป็นโรคต่ำกว่าและที่สำคัญไม่มีผลเสียต่อตับและระบบต่อมไร้ท่ออื่นๆ

สำหรับการถอดเล็บเพื่อรักษาโรคเชื้อรานั้นไม่แนะนำให้ทำเพราะนอกจากจะไม่ได้ผลดีแล้วยังทำให้เกิดความเจ็บปวดกับผู้ป่วยซ้ำร้ายอาจไม่มีเล็บขึ้นมาใหม่เลยหรืออาจทำให้เล็บใหม่บูดเบี้ยวอย่างถาวรก็เป็นไปได้

 

 

กรณัฐวุฒิ รักแคว้น. 2553. เคล็ดเครื่องสำอาง อาวุธลับผิวสวย. ฐานบุ๊ค. กรุงเทพฯ

2 Comments

  1. ผมเป็นมานานแล้วอ่ะคับ 5-6 ปีได้ เพราะผมไม่ค่อยรักษาจิงจัง ทายาบ้างกินยาบ้าง

    แต่มันไม่หายไม่ดีขึ้นผมเลยหยุด ไม่รุ้ว่าต้องรักษานานขนากไหนเลยหยุด แต่ตอนนี้เริ่มจะทนไม่ไหวละ

    บางทีมันมีกลิ่น เป็นนานแบบผมนี้รักษาหายไหมคับ

  2. เมื่อก่อน ตอนสมัยเรียนแอดมินเองก็เคยเป็นครับ เปลี่ยนมาสวมรองเท้าที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ปล่อยให้เท้าอับ ล้างด้วยน้ำอุ่น ทำความสะอาดเป็นประจำ เดี๋ยวก็หายเองครับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *